Skip to main content

หลักสูตร

Knowledge for Every Level

คนทั่วไปมองว่าประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ไม่น่าสนใจและน่าเบื่อ เพราะเป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตผ่านการท่องจำเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เน้นการสร้างความเป็นเหตุเป็นผลให้กับผู้เรียน เน้นการอธิบายความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อย่างซับซ้อน ประวัติศาสตร์จึงมิใช่เป็นวิชาที่ศึกษาแต่เรื่องในอดีตเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้เข้าใจสังคมในปัจจุบัน ซึ่งเป็นมรดกตกทอดของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา และยังช่วยส่องสว่างแนวโน้มของความเปลี่ยนแปลงในอนาคต

หลักสูตรปรับปรุง “ศิลปศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Arts Program)” ของคณะมนุษยศาสตร์สำหรับปีการศึกษา 2566 ได้มีการรวมเอาหลักสูตรที่เปิดสอนในคณะในปัจจุบันแบบแยกหลักสูตรจำนวน 8 สาขาวิชาเข้ามารวมเป็นหลักสูตรเดียว โดยได้พัฒนาโครงสร้างการเรียนแบบใหม่ ที่ผู้เรียนจะได้เรียนในศาสตร์ด้านมนุษยศาสตร์อย่างครอบคลุมมากกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็น ด้านภาษาศาสตร์ ด้านวรรณศิลป์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านปรัชญา ก่อนที่ผู้เรียนจะได้มีโอกาสได้เจาะลึกในศาสตร์เฉพาะทางที่ตัวเองสนใจ

ดาวน์โหลด: หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตฉบับเต็ม 2566 (PDF)

การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหลักสูตรโดยยึดร่าง มคอ.1 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดกระบวนวิชา ซึ่งร่าง มคอ. 1 ได้แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็นสามกลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มประวัติศาสตร์เชิงพื้นที่ กลุ่มประวัติศาสตร์ที่เน้นแนวพินิจ (approach) และกลุ่มปรัชญาประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์นิพนธ์ วิธีคิดและวิธีการทางประวัติศาสตร์

แก้ไขเพิ่มเติม: ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป กระบวนวิชา 004309 ม.ปว. 309 สัมมนา เปลี่ยนชื่อกระบวนวิชาเป็น 004309 ม.ปว. 309 วิธีการวิจัยประวัติศาสตร์ชั้นสูง และมีเงื่อนไขที่ต้องผ่านก่อนคือ  004302 ม.ปว. 302 อ่านอดีตจากเอกสาร 2 หรือตามความเห็นชอบของภาควิชา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในเอกสารแนบ

ให้นักศึกษาตรวจสอบข้อมูลล่าสุดในเว็บไซต์ของสำนักพัฒนาคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเข้าไปดูที่ฝ่ายส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร (CD) https://www.eqd.cmu.ac.th/CD2022/minor.html

การออกแบบหลักสูตรนี้เน้นให้หลักสูตรมีลักษณะแผนการศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของเอกบุคคล (Individualized program) มีความยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับนักศึกษาแต่ละคนที่มีความสนใจทางวิชาการแตกต่างกัน การเรียนการสอนให้ความสำคัญแก่เสรีภาพทางวิชาการ สนับสนุนมุมมองและวิธีวิทยาใหม่ๆ ที่นักศึกษานำมาใช้ โดยเน้นการค้นหาแนวพินิจที่เอื้อต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้จากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง

การออกแบบหลักสูตรเน้นบูรณาการความรู้ทางประวัติศาสตร์เข้ากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีศักยภาพสูงในการทำวิจัย โดยจัดการเรียนการสอนให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับแนวพินิจ (approach) และทฤษฎีที่หลากหลาย สนับสนุนให้นักศึกษามีอิสรภาพทางความคิด มีความเป็นตัวของตัวเองในทางปัญญา และมีศักยภาพที่จะพัฒนาแนวทางในการสร้างความรู้ที่เป็นจุดเด่นเฉพาะตัวขึ้นมา