Skip to main content

ชื่อบทความ: ความเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและทัศนคติของคนภาคเหนือในเพลงคำเมืองในช่วงพ.ศ. 2500-2550

ผู้เขียน: ธิติวุฒิ ถาลายคำ (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในพ.ศ.2566) 

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาความเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและทัศนคติของคนภาคเหนือผ่านเพลงคำเมืองในช่วงระหว่างพ.ศ.2500 ถึง 2550 โดยวิเคราะห์เชื่อมโยงความเปลี่ยนแปลงทางบริบทสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม ผลการศึกษาพบว่า ทัศนคติที่พบในเพลงคำเมืองผูกติดอยู่กับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม โดยสัมพันธ์กับวิถีชีวิตผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีสาเหตุมาจากการดำเนินนโยบายของรัฐ การขยายตัวด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ และการขยายตัวของการท่องเที่ยว เพลงคำเมืองในช่วงแรก (พ.ศ.2500-2520) พบทัศนคติเกี่ยวกับการแสดงออกถึงการสูญเสียคนในท้องถิ่นจากการต้องเข้าไปทำงานในเมืองอันเนื่องมาจากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ จากนั้นในระยะต่อมา (พ.ศ.2520-2539) แนวเพลงโฟล์คซองได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งนำเสนอภาพการถอยห่างจากวิถีชีวิตการเกษตร ภาพช่องว่างทางชนชั้น รวมไปถึงความพยายามสร้างพื้นที่ตัวตนให้กับความเป็นล้านนา นอกจากนี้ ยังมีแนวเพลงสตริงและเมดเล่ย์ที่เกิดขึ้นในช่วงราว พ.ศ.2527-2550 ได้เสนอเชิญชวนให้กลับท้องถิ่น ด้วยเพราะคนในท้องถิ่นเห็นถึงการพัฒนาในพื้นที่ท้องถิ่นตนเอง ส่วนในระยะสุดท้ายตั้งแต่พ.ศ.2540 หลังวิกฤตเศรษฐกิจอันนำมาสู่ความวิตกกังวลของผู้คนในสังคม เพลงคำเมืองจึงทำหน้าที่เป็นยาบำรุงความรู้สึกและต้องการความตลกขบขันเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงการนำเสนอกระแสโหยหาอดีตที่ผู้คนหันมามองความดีงามของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม

คำสำคัญ: เพลงคำเมือง, ความเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิต, ทัศนคติของคนภาคเหนือ 

วิธีอ้างอิง: ธิติวุฒิ ถาลายคำ. "ความเปลี่ยนแปลงด้านวิถีชีวิตและทัศนคติของคนภาคเหนือในเพลงคำเมืองในช่วงพ.ศ.2500-2550." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 1, ฉ.1 (มกราคม-มิถุนายน 2566): 1-28.

เผยแพร่ออนไลน์: 1 กันยายน 2566

 

Attachment Size
01_local_song.pdf (292.58 KB) 292.58 KB