Skip to main content

ชื่อบทความ: ดนตรีไทยกับกรมสมเด็จพระเทพฯ: ว่าด้วยความเป็นไทยและพระราชอำนาจนำช่วงทศวรรษ 2520-2560

ผู้เขียน: เศรษฐศาสตร์ ศิริกุลวิวัฒน์ (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในพ.ศ.2566)

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์บทบาทของกรมสมเด็จพระเทพฯ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทยในช่วงทศวรรษ 2520-2560 โดยศึกษาประวัติดนตรีไทย ความหมายและนัยยะของความเป็นไทยในดนตรีไทย รวมไปถึงบทบาทของกรมสมเด็จพระเทพฯ ที่มีต่อวงการดนตรีไทย จากการศึกษาพบว่ากระแสการสร้างความเป็นไทยที่เข้มข้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้ผู้คนจำนวนหนึ่งได้รับชุดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างชาติพันธุ์ที่บ่งบอกถึงความแตกต่างก่อให้เกิดสำนึกแบบชาตินิยมความเป็นไทย กรมสมเด็จพระเทพฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันกษัตริย์และสัญลักษณ์ความเป็นไทย ได้กลายเป็นตัวแทนสัญลักษณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย พระองค์ได้รับการอบรมบ่มเพาะจากครูดนตรี จนได้ใช้ดนตรีไทยในการความสัมพันธ์นักศึกษาในช่วงกระแสการเมืองราวปลายทศวรรษ 2510 ต่อต้นทศวรรษ 2520 ต่อมาเครือข่ายดนตรีไทยได้ขยายตัวผ่านมูลนิธิ พระองค์สามารถสร้างพระราชอำนาจนำผ่านดนตรีไทย โดยทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกันระหว่างดนตรีไทยกับสถาบันกษัตริย์

คำสำคัญ: ดนตรีไทย, กรมสมเด็จพระเทพฯ, ความเป็นไทย, พระราชอำนาจนำ

วิธีอ้างอิง: เศรษฐศาสตร์ ศิริกุลวิวัฒน์. "ดนตรีไทยกับกรมสมเด็จพระเทพฯ: ว่าด้วยความเป็นไทยและพระราชอำนาจนำช่วงทศวรรษ 2520-2560." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 1, ฉ.1 (มกราคม-มิถุนายน 2566): 113-142.
เผยแพร่ออนไลน์: 1 กันยายน 2566

Attachment Size
05_thai_music_and_sirinthorn.pdf (398.97 KB) 398.97 KB