Skip to main content

หัวข้อวิทยานิพนธ์

การสร้างสยามผ่านระบอบปฏิทิน (พ.ศ. 2394 - พ.ศ. 2475)

 

อาจารย์ที่ปรึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์

 

ชนาวุธ บริรักษ์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2558 และระดับปริญญาโท สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2562 หลังจากนั้นเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563

 

ความเชี่ยวชาญ/ความสนใจ       

  • ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
  • ประวัติศาสตร์เวลาและวันสำคัญ

 

สิ่งตีพิมพ์

  • ชนาวุธ บริรักษ์. “วันที่ระลึกกลุ่มทางสังคม” กับสำนึกความทรงจำของสังคม.” 183 – 212. ใน ประวัติศาสตร์...ต้นทางสู่จักรวาลแห่งความรู้, บรรณาธิการโดยอุดมพร ธีระวิริยะกุล. พิษณุโลก: ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิยาลัยนเรศวร, 2566.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. ความทรงจำใต้อำนาจ: รัฐ ราชวงศ์ พลเมืองและการเมืองบนหน้าปฏิทิน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2565.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “วันที่ระลึกทหารอาสา” กับความยอกย้อนบนสำนึกความทรงจำ.” ศิลปวัฒนธรรม 43,  3 (มกราคม 2565): 98 - 114.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. การเพิ่มขึ้นของ “วันสำคัญ” กับการสร้างความเป็นพลเมืองของชาติไทย ทศวรรษ 2520 – 2540. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2562.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “จาก “พิธีกรรม” สู่ “วันหยุดราชการ” จุดกำเนิดวันสำคัญแห่งชาติของรัฐไทย.” วารสารอินทนิลทักษิณสาร 13, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561): 209 – 248.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “การศึกษาการเปลี่ยนแปลงในปฏิบัติการเรื่อง “วัน” ทั้งวันหยุด และวันสำคัญของรัฐไทย.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 5, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2560): 111 – 141.
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “รัฐสร้างผี” : ว่าด้วยการจัดการความสัมพันธ์ภายในสังคมของรัฐและชุมชน. 2558. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2015/01/57381
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “วิถีแห่งเครื่องจักร”:กระบวนการผลิตและส่งออกนิสิตนักศึกษาไทย. 2557. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2014/12/56993
  • ชนาวุธ บริรักษ์. “สามนิ้ว” กลยุทธ์การช่วงชิงความหมายของมวลชนที่รัฐบาลทหารตามไม่ทัน. 2557. เข้าถึงได้จาก https://prachatai.com/journal/2014/12/57031 

 

ติดต่อ

Email: tamahakane_1993@hotmail.com