Skip to main content

ชื่อบทความ: 'ปีศาจแห่งกาลเวลา': ชีวิตของวรรณกรรม 'ปีศาจ' ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ช่วงทศวรรษ 2490-2560

ผู้เขียน: วริสรา หวังวรวาณิชย์ (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ปรัชญา และวรรณคดีอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อพ.ศ.2566)

บทคัดย่อ

บทความต้องการศึกษาการปรากฏตัวของวรรณกรรมเรื่อง “ปีศาจ” ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ในบริบททางประวัติศาสตร์สังคมการเมืองไทยในช่วงระยะตั้งแต่วรรณกรรมนี้ถือกำเนิดเมื่อปลายทศวรรษ 2590 จนถึงทศวรรษ 2560 จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมเรื่อง “ปีศาจ” ซึ่งเขียนโดยศักดิ์ชัย บำรุงพงศ์ ปัญญาชนฝ่ายซ้ายที่ใช้นามปากกาว่า เสนีย์ เสาวพงศ์ เป็นวรรณกรรมที่สะท้อนปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมไทยโดยเฉพาะปัญหาเรื่องที่ดินของชาวนา และได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองในสังคมไทยมาหลายยุคหลายสมัย ในช่วงต้น วรรณกรรมชิ้นนี้ไม่เป็นที่รู้จักมากนักในสังคมไทย ดังที่รัฐเข้าใจผิดว่าเป็นนวนิยายเกี่ยวกับผี ต่อมาในช่วงทศวรรษ 2510-2520 “ปีศาจ” ได้กลับมาถูกกล่าวถึงในวงการวรรณกรรมและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองอีกครั้ง บทวิจารณ์จากปัญญาชนฝ่ายซ้ายหลายคนได้ช่วยให้งานของเสนีย์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และถูกใช้เป็นเครื่องมือนำเสนอภาพปัญหาในสังคมไทยระหว่างการเรียกร้องประชาธิปไตย จนหลังทศวรรษ 2520-2560 วรรณกรรมเรื่อง “ปีศาจ” ได้ปรากฏตัวมากขึ้นในสังคมไทย ทั้งการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ละครเวที และการได้รับเลือกให้เป็นหนังสือดี 100 เล่มที่ควรอ่าน การถูกแปลเป็นฉบับภาษาต่างประเทศ รวมถึงการนำเอาชื่อไปใช้เป็นชื่อรางวัลการประกวดวรรณกรรม และท้ายที่สุดคือ การยกเนื้อหาบางส่วนไปกล่าวเป็นข้อความปลุกใจ และทำเป็นละครเวทีในการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในทศวรรษ 2560 วรรณกรรมปีศาจจึงโลดแล่นอยู่ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาโดยตลอด เปรียบดั่งเป็น “ปีศาจแห่งกาลเวลา”

คำสำคัญ: ปีศาจ, เสนีย์ เสาวพงศ์, วรรณกรรมเพื่อชีวิต, การเคลื่อนไหวทางการเมือง

วิธีการอ้างอิง: วริสรา หวังวรวาณิชย์. "'ปีศาจแห่งกาลเวลา': ชีวิตของวรรณกรรม 'ปีศาจ' ของเสนีย์ เสาวพงศ์ ช่วงทศวรรษ 2490-2560." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 1, ฉ.2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566): 1-36.

เผยแพร่ออนไลน์: 9 กุมภาพันธ์ 2567 

Attachment Size
01_demon-novel_f.pdf (577.65 KB) 577.65 KB