Skip to main content

ชื่อบทความ: ลื้อกาดบน: อัตลักษณ์ การต่อรอง การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ ผ่านปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน (พ.ศ.2500-2565)

ชื่อผู้เขียน: กานต์พิชา ผิวเกษแก้ว (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อพ.ศ.2566)

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อในพื้นที่กาดบน หรือตลาดบุญยืน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายช่วงพ.ศ.2500-2565 จากการศึกษาพบว่าชาวไทลื้อซึ่งอพยพจากประเทศจีนเข้าสู่เขตอำเภอแม่สายได้มีการรักษาอัตลักษณ์ของตนไว้ในระยะแรกโดยเฉพาะการแต่งกายและการให้ความสำคัญต่อวัดในฐานะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาเมื่อชาวไทลื้อรุ่นใหม่ได้เข้าไปมีบทบาทในการค้าหรือตลาดชายแดน ก็เริ่มมีการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ให้เข้ากับบริบทพื้นที่ดังกล่าว โดยนอกจากการปรับรูปแบบการแต่งกายแล้ว ยังมีการให้ความสำคัญกับพื้นที่ตลาดมากกว่าวัดและการปรับสถานะของวัดให้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ทางเศรษฐกิจอีกด้วย ในด้านภาษา ชาวไทลื้อเริ่มปรับมาใช้ภาษาไทยและจีนเพื่อเพิ่มโอกาสในการต่อรองกับนายทุนซึ่งมักให้ความสำคัญกับผู้ที่สามารถสื่อสารภาษาจีนได้เป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่า ภูมิทัศน์ของชาวไทลื้อต่อการให้ความหมายของตลาดเปลี่ยนแปลงไปในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากไม่สามารถขายสินค้าที่หน้าร้านโดยตรงได้หลังคำสั่งปิดพื้นที่ของรัฐ ผู้ค้าชาวไทลื้อรุ่นใหม่จึงเริ่มขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำให้ความหมายของตลาดเปลี่ยนจากพื้นที่เชิงกายภาพหรือการมีหน้าร้าน แผงลอย และรถเข็นสำหรับเดินขายในตลาด กลายไปเป็นพื้นที่เชิงนามธรรมในการขายผ่านสื่อบนโลกออนไลน์

คำสำคัญ: ไทลื้อ, อัตลักษณ์, ภูมิทัศน์, การต่อรอง, อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

วิธีการอ้างอิง: กานต์พิชา ผิวเกษแก้ว. "ลื้อกาดบน: อัตลักษณ์ การต่อรอง การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ ผ่านปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน (พ.ศ.2500-2565)." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 1, ฉ.2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2566): 134-154.

เผยแพร่ออนไลน์: 9 กุมภาพันธ์ 2567

Attachment Size
05_tai-lue_market_fweb.pdf (487.3 KB) 487.3 KB