Skip to main content

วันพัฒน์ ยังมีวิทยา อาจารย์ประจำสำนักวิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 


 

ปัญหาการศึกษา เค้าโครงการเศรษฐกิจ ของ ปรีดี พนมยงค์

 

บทนำ

 

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 เว็ปไซต์สถาบันปรีดี พนมยงค์ ได้เผยแพร่บทความออนไลน์ชื่อว่า “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ"” โดยระบุชื่อผู้เขียนบทความดังกล่าวว่า "สถาบันปรีดี พนมยงค์"[1] (ขอเรียกย่อๆ ว่า "สถาบันปรีดี") บทความดังกล่าวเป็นการตอบโต้ประเด็นข้อวิพากษ์ต่างๆ ที่มีต่อ เค้าโครงการเศรษฐกิจ (ขอเรียกย่อๆ ว่า "เค้าโครงการฯ[2]ของปรีดี พนมยงค์ ใน 6 ประเด็น ได้แก่ (1) เค้าโครงการเศรษฐกิจ” ที่นายปรีดี พนมยงค์เสนอในปี พ.. 2476 เป็นการเสนอ “แผนและโครงการเศรษฐกิจ” ที่มีรายละเอียดชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติแล้วหรือไม่? (2) เค้าโครงการเศรษฐกิจมีความชอบธรรมหรือไม่? (3) เค้าโครงฯ ให้ความสำคัญกับการเป็นพลเมืองประชาธิปไตยหรือไม่? (4) เค้าโครงฯ ทำลายระบบตลาดและเงินตราหรือไม่? (5) หากมีการนำการรวมที่ดินจากส่วนกลางตามลัทธิ Collectivism และใช้รูปแบบสหกรณ์ในการบริหารมาใช้ในสมัยนั้นจะทำให้ระบบเศรษฐกิจเกิดความเสียหายหรือไม่และ (6) เค้าโครงเศรษฐกิจ สามารถประยุกต์ใช้ในปัจจุบันได้หรือไม่?

บทความดังกล่าวไม่ได้บอกที่ไปที่มาว่าเหตุใดจึงเลือกตอบโต้ต่อประเด็นทั้ง ข้อดังกล่าวใครเป็นผู้เริ่มวิพากษ์ใน ประเด็นดังกล่าวผู้อ่านที่ไม่ทราบที่ไปที่มาอาจคิดไปว่าบทความชิ้นนี้ของสถาบันปรีดีเป็นการตอบคำถามที่ตั้งขึ้นมาเอง หรืออาจเป็นการรวบรวมคำถาม ข้อสงสัย หรือข้อวิจารณ์ที่มีต่อ เค้าโครงการฯ ที่มีอยู่โดยทั่วไปในสังคม แต่อันที่จริงแล้ว บทความชิ้นนี้ของสถาบันปรีดีเป็นการตอบโต้ต่อบทความของผู้เขียนที่ชื่อว่า "A Critique of Pridi Panomyong's Economic Plan” (ขอเรียกย่อๆ ว่า “A Critique of PEP”) ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร "รัฐศาสตร์นิเทศ"[3]ในปี 2566 ในแทบจะทุกประเด็น

อันที่จริง ผู้เขียนคิดว่าประเด็นต่างๆ ที่สถาบันปรีดีตอบโต้ผู้เขียนนั้น ผู้เขียนได้ให้คำอธิบายพร้อมทั้งยกหลักฐานเป็นตัวบท (text) จาก เค้าโครงการฯ ไว้อย่างละเอียดแล้ว ดังนั้น ในแง่หนึ่ง การเขียนบทความชิ้นนี้ของผู้เขียนจึงไม่จำเป็น แต่ในอีกแง่หนึ่ง เนื่องจากบทความของผู้เขียนที่เป็นจุดเริ่มต้นของวิวาทะครั้งนี้ถูกเขียนเป็นภาษาอังกฤษซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ยังไม่มีผู้อ่านมากนัก[4] ดังนั้น เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การอภิปรายสาธารณะในประเด็นดังกล่าว ผู้เขียนจึงเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา โดยในบทความนี้ ผู้เขียนจะไม่ได้อภิปรายในทุกประเด็นต่อบทความดังกล่าวของสถาบันปรีดี แต่จะสนทนาเฉพาะบางประเด็นเท่านั้น

 

ทบทวนข้อถกเถียงของสถาบันปรีดี

 

ผู้เขียนจะเลือกสนทนากับข้อถกเถียงของสถาบันปรีดีในหัวข้อต่อไปนี้

 

  1. สถาบันปรีดีถกเถียงว่า เค้าโครงการฯ ถูกเขียนขึ้นด้วยความเร่งรีบและเป็นเพียงแผนคร่าวๆ เท่านั้น ยังไม่ได้ตั้งใจทำให้เป็นข้อเสนอที่มีรายละเอียดครบถ้วนพร้อมปฏิบัติ ฉะนั้น โดยนัย[5] แล้ว เราจึงไม่ควรสนใจที่ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ อย่างจริงจังมากเกินไป ราวกับว่านี่เป็นข้อเสนอที่ปรีดีคิดมาอย่างรอบคอบแล้ว
  2. สถาบันปรีดีถกเถียงว่า เราไม่สามารถวิพากษ์ เค้าโครงการฯ ว่าขาดความชอบธรรมโดยไม่สนใจ "บริบททางเศรษฐกิจและสังคมของโลกและของสยาม ณ ขณะนั้นได้
  3. สถาบันปรีดีถกเถียงว่า เค้าโครงการฯ ไม่ได้ทำลายระบบตลาดและระบบเงินตรา
  4. สถาบันปรีดีถกเถียงว่า เค้าโครงการฯ เสนอให้รัฐซื้อที่ดินโดยความสมัครใจจากเจ้าของที่ดิน

 

โดยภาพรวม สถาบันปรีดีกำลังชี้ให้เห็นถึงปัญหาการศึกษา เค้าโครงการฯ ของผู้เขียน โดยเห็นว่าเป็นความผิดพลาดที่ผู้เขียนศึกษา เค้าโครงการฯ โดยไม่สนใจ "บริบทแวดล้อมของ เค้าโครงการฯ มากเพียงพอ สถาบันปรีดีจึงชี้ให้เห็นว่าหากเราศึกษา เค้าโครงการฯ โดยสนใจ "บริบทเหล่านั้นแล้ว ข้อสรุปที่ได้ย่อมไม่เหมือนกับของผู้เขียน และด้วยวิธีการศึกษาเช่นนี้ของสถาบันปรีดี จึงไม่แปลกที่สถาบันปรีดีไม่ได้พยายามใช้หลักฐานที่เป็น "ตัวบทจาก เค้าโครงการฯ มาสนับสนุนข้อถกเถียงของตนเองมากนัก เพราะถือว่าสิ่งที่ถูกเขียนใน เค้าโครงการฯ เป็นเพียงหนึ่งในบริบทแวดล้อมเท่านั้น ไม่อาจถือให้เป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา เค้าโครงการฯ ได้

แม้ว่าในบทความ "A Critique of PEP” ผู้เขียนจะไม่ได้อภิปรายถึง "บริบทแวดล้อมมากเท่ากับการอภิปราย "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ แต่อันที่จริงแล้ว ข้อวิพากษ์ของผู้เขียนได้คำนึงถึงบริบททั้งในสมัยนั้น (2476) และในสมัยปัจจุบันไว้แล้ว เพียงแต่ผู้เขียนเห็นว่าเมื่อพิจารณาแล้ว "บริบทดังกล่าวไม่ได้ส่งผลต่อข้อถกเถียงของผู้เขียนแต่อย่างใด กล่าวคือ ไม่ว่าจะพิจารณาบริบทในอดีตหรือในปัจจุบัน ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า เค้าโครงการฯ ไม่มีความชอบธรรมและไม่ควรถูกนำมาใช้ นอกจากนั้น เนื่องจากผู้เขียนเห็นว่าผู้ที่ศึกษา เค้าโครงการฯ มักให้ความสำคัญกับ "บริบทมากเกินไปและให้ความสำคัญกับ "ตัวบทน้อยเกินไป ฉะนั้น ผู้เขียนจึงต้องการชักชวนให้หันมาให้ความสำคัญกับ "ตัวบทมากขึ้น จึงเป็นที่มาว่าทำไมผู้เขียนจึงเน้นที่ "ตัวบทเป็นหลักในบทความดังกล่าว แต่เพื่อประโยชน์ในการถกเถียงสาธารณะ ในบทความนี้ผู้เขียนจะอภิปรายโดยชี้ให้เห็นว่า "บริบทที่สถาบันปรีดีอ้างถึงนั้นก็ไม่ได้ช่วยทำให้ เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมมากขึ้น (ทั้งในอดีตและปัจจุบันแต่อย่างใด

 

1. เค้าโครงการฯ ในฐานะแผนคร่าวๆ

 

ก่อนที่ผู้เขียนจะอภิปรายในประเด็นนี้ ผู้เขียนอยากจะพูดถึงปัญหา ประการ ที่มักจะพบในผู้ที่ศึกษาและปกป้อง เค้าโครงการฯ คือ (1) มักจะปกป้อง เค้าโครงการฯ โดยไม่อ้างอิง "ตัวบทจาก เค้าโครงการฯ อย่างจริงจังเพื่อมาสนับสนุนข้อถกเถียงของตน โดยอ้างว่าต้องสนใจที่ "บริบทมากกว่า และ (2) ถึงแม้จะมีความพยายามในการอ้างตัวบท แต่ก็มักจะเป็นการอ้างที่ผิดฝาผิดตัว เช่น มักตีความเกินตัวบทหรืออ้างข้อความจากตัวบทไม่ครบจนทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เป็นต้น

ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าบทความ "A Critique of PEP” ของผู้เขียนเน้นศึกษา เค้าโครงการฯ โดยเจาะไปที่ตัวบทที่ปรากฏใน เค้าโครงการฯ นี่จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้เขียนมักถูกวิจารณ์ว่าเป็นการศึกษาโดยละเลย "บริบทที่อยู่นอกเหนือตัวบท อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนกลับไม่คิดว่าการที่ผู้เขียนเลือกนำเสนอเช่นนี้เป็นปัญหาอย่างที่บางคนเข้าใจ นั่นเพราะผู้เขียนระบุตั้งแต่ในชื่อบทความแล้วว่าวัตถุประสงค์คือ "การวิพากษ์ เค้าโครงการฯ ของปรีดี" (“A Critique of Pridi Panomyong's Economic Plan”) ถ้าเป้าหมายคือการวิพากษ์เฉพาะสิ่งที่ปรากฏอยู่ในตัว เค้าโครงการฯ เท่านั้นแล้ว การศึกษาโดยเจาะไปที่ตัวบทที่ปรากฏใน เค้าโครงการฯ เท่านั้นจะเป็นปัญหาได้อย่างไร?

สถาบันปรีดีอาจเถียงกลับได้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการไม่เคารพต่อตัวผู้เขียน (ปรีดีเพราะคนๆ หนึ่งย่อมมีข้อจำกัดมากมาย การเลือกวิจารณ์เฉพาะสิ่งที่ปรากฎในอยู่ในตัวบทเท่านั้นจึงไม่ยุติธรรมต่อตัวผู้เขียนตัวบทดังกล่าว ผู้เขียนคิดว่านี่เป็นประเด็นและข้อถกเถียงที่ถูกใช้โดยผู้ที่ปกป้อง เค้าโครงการฯ จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่คิดว่านี่เป็นข้อถกเถียงที่มีน้ำหนัก เพราะหากวัตถุประสงค์ของการวิจารณ์คือ การวิจารณ์ "ตัวบทหนึ่งๆไม่ใช่การวิจารณ์ "ความคิดทั้งชีวิตของตัวผู้เขียนตัวบทนั้นแล้ว ผู้เขียนก็มองไม่เห็นว่าทำไมการเลือกวิจารณ์เฉพาะตัวบทหนึ่งๆ โดยไม่สนใจงานชิ้นอื่นๆ ของตัวผู้เขียนคนนั้นๆ จะเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้

เช่น การเลือกวิจารณ์หนังสือ Capital ของ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ไม่เท่ากับการเลือกวิจารณ์ "ความคิดทั้งชีวิตของมาร์กซ์แต่อย่างใด หากผู้วิจารณ์ระบุไว้ชัดตั้งแต่ต้นว่าต้องการวิจารณ์ที่ตัวบทของหนังสือ Capital ไม่ใช่ความคิดทั้งชีวิตของมาร์กซ์แล้ว ย่อมเป็นเรื่องปกติที่ชอบธรรมที่ผู้วิจารณ์จะเจาะไปที่เฉพาะตัวหนังสือ Capital เท่านั้น เป็นต้น เช่นเดียวกันกับบทความ "A Critique of PEP” ของผู้เขียนที่ระบุไว้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่าต้องการวิจารณ์เฉพาะตัวบทของ เค้าโครงการฯ เท่านั้น และยังระบุไว้อีกว่าการวิพากษ์ เค้าโครงการฯ ไม่เท่ากับการวิพากษ์ความคิดทั้งชีวิตของปรีดีแต่อย่างใด[6] ในแง่นี้ ผู้เขียนจึงย่อมมีความชอบธรรมที่จะอภิปรายตัวบทของ เค้าโครงการฯ เท่านั้น

สถาบันปรีดีเห็นว่าการวิพากษ์ของผู้เขียนผิดพลาดเพราะไม่อภิปราย "บริบทที่แวดล้อม เค้าโครงการฯ ดังนั้น สถาบันปรีดีจึงยกตัวอย่าง "บริบทต่างๆ ที่ควรพิจารณาให้เห็น โดยบริบทแรกที่เสนอโดยสถาบันปรีดีคือ เค้าโครงการฯ ถูกเขียนด้วยความเร่งรีบและไม่ลงรายละเอียด สถาบันปรีดีเริ่มด้วยการตั้งคำถามว่า “ 'เค้าโครงการเศรษฐกิจ' ที่นายปรีดี พนมยงค์เสนอในปี พ.. 2476 เป็นการเสนอ 'แผนและโครงการเศรษฐกิจ' ที่มีรายละเอียดชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติแล้วหรือไม่?” พร้อมกับตอบคำถามนี้ว่าการอ่านและศึกษาเนื้อหาในเค้าโครงการเศรษฐกิจจำเป็นต้องตระหนักถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง กล่าวคือ นายปรีดีเขียนเค้าโครงการเศรษฐกิจด้วยความรีบเร่งเนื่องจากจะต้องนำเสนอโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติต่อรัฐบาลตามที่ได้ประกาศเป็นปฏิญญาไว้ในหลัก ประการของคณะราษฎร” และ “เป็นเพียง 'เค้าโครงการ' ที่ร่างขึ้นภายในระยะเวลาอันจํากัดเป็นการเขียนในเชิงหลักการ จึงมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนในทุกเรื่อง”[7] นัยของข้อเสนอนี้คือเราไม่ควรวิพากษ์ เค้าโครงการฯ โดยสนใจที่ "ตัวบทเป็นหลัก เพราะปรีดีเขียนมันขึ้นมาด้วยความเร่งรีบและเป็นเพียงแผนคร่าวๆ เท่านั้น การมุ่งสนใจแต่ "ตัวบทย่อมไม่เป็นธรรมกับปรีดี

ในประเด็นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าถึงแม้เราอาจจะยอมรับว่าเป็นความจริงที่ เค้าโครงการฯ ถูกเขียนขึ้นด้วยความรีบเร่งและเป็นแค่ร่างคร่าวๆ เท่านั้น แต่ผู้เขียนก็ยังมองไม่เห็นว่าทำไมเราจึงจะวิจารณ์งานเขียนที่ถูกเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบและเป็นแค่ร่างคร่าวๆ โดยให้ความสำคัญที่ "ตัวบทไม่ได้ยกตัวอย่างเช่น นาย กเขียนงานวิชาการชิ้นหนึ่งเสร็จเป็นร่างแรกและได้ส่งร่างแรกนั้นให้ผู้อื่นได้อ่าน เช่นนี้แล้ว ผู้อ่านย่อมสามารถวิจารณ์ร่างแรกนั้นโดยสนใจที่ "ตัวบทนั้นได้อย่างเต็มที่ถึงแม้จะตระหนักดีว่าเป็นเพียงแค่ร่างแรกก็ตาม ถ้าสิ่งที่ปรากฏอยู่ในร่างแรกนั้นผิดก็คือผิด การอ้างว่าเป็นแค่ร่างแรกย่อมไม่ใช่การอ้างที่มีน้ำหนัก และถ้าเมื่อเห็นว่าร่างแรกดังกล่าวมีข้อบกพร่อง นาย กก็นำเอาไปปรับแก้ภายหลังได้ แต่นี่ก็ยังไม่ได้ทำให้การวิจารณ์ร่างแรกโดยสนใจที่ "ตัวบทนั้นเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้อยู่ดี

เช่นเดียวกับกรณีของ เค้าโครงการฯ ปรีดีหรือใครก็ตามอาจจะอ้างได้ว่า เค้าโครงการฯ ถูกเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบและขาดรายละเอียด แต่ข้อเท็จจริงก็คือเอกสารชิ้นนี้ได้ถูกนำเสนอต่อสาธารณะแล้ว ฉะนั้น เค้าโครงการฯ จึงกลายเป็นเอกสารสาธารณะที่ใครก็ย่อมวิจารณ์ได้โดยตัวของมันเอง การที่ผู้เขียนเลือกจะวิจารณ์เฉพาะ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ โดยไม่คลอบคลุมไปถึงความคิดทั้งชีวิตของปรีดีจึงไม่มีอะไรที่เรียกว่าขาดวิจารณญาณได้เลย ตรงกันข้าม ถ้าหากสมมติว่าผู้เขียนเลือกศึกษาเฉพาะตัวบทของ เค้าโครงการฯ แต่กลับวิจารณ์ว่านี่เป็นความคิดทั้งชีวิตของปรีดีราวกับว่าปรีดีไม่มีงานเขียนชิ้นอื่นๆ เลย นี่ต่างหากที่เป็นการขาดวิจารณญาณและไม่เคารพปรีดี ซึ่งไม่ใช่ในกรณีของผู้เขียนเลย

ส่วนเหตุผลที่ว่าปรีดีเขียน เค้าโครงการฯ โดยตั้งใจให้เป็นเพียงแผนคร่าวๆ และไม่ลงรายละเอียดเพราะไม่ได้ตั้งใจให้เป็นแผนที่พร้อมนำไปปฏิบัติทันทีนั้น ผู้เขียนเห็นว่าถึงแม้จะสมมติว่าเป็นความจริงที่ปรีดีมีความตั้งใจดังกล่าวจริง แต่ผู้เขียนก็ยังไม่เห็นว่าแล้วเหตุผลนี้ทำให้เราไม่สามารถวิจารณ์โดยให้ความสำคัญกับ "ตัวบทได้อย่างไรเค้าโครงการฯ นั้นแม้จะสมมติว่าเป็นความจริงว่าเป็นเพียงแผนคร่าวๆ ที่ห่างไกลกับการมีรายละเอียดที่สมบูรณ์ แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าแผนคร่าวๆ ที่ว่านี้ก็ได้ให้ "ภาพใหญ่หรือ "ทิศทางที่จะนำพาประเทศไปแล้ว การวิพากษ์ เค้าโครงการฯ ของผู้เขียนก็คือการวิพากษ์ "ภาพใหญ่เหล่านี้ นั่นคือ "ภาพใหญ่เหล่านี้ผิดตั้งแต่ในแง่หลักการเบื้องต้น ผู้เขียนไม่ได้วิพากษ์ว่า เค้าโครงการฯ มีปัญหาเพราะไม่มี "รายละเอียดมากพอ หรือเพราะไม่ได้เสนอแนวทางในการนำไปปฏิบัติแต่อย่างใด ประเด็นของผู้เขียนอยู่ที่ "หลักการใหญ่ของ เค้าโครงการฯ ไม่ใช่ "รายละเอียดและถึงแม้จะมีการเพิ่มรายละเอียดเข้ามาในภายหลัง แต่ตราบใดที่หลักการเบื้องต้นที่กำหนด "ภาพใหญ่ของนโยบายยังเป็นแบบที่เสนอมา ผู้เขียนก็ยังไม่เห็นว่าการวิพากษ์ เค้าโครงการฯ โดยถือเอา "ตัวบทเป็นสำคัญ ที่แม้จะถือว่าเป็นเพียงแผนคร่าวๆ มีความไม่เหมาะสมอย่างไร?

ควรกล่าวไว้ด้วยว่าภายหลังการนำเสนอ เค้าโครงการฯ แล้วนั้น ปรีดีได้กล่าวในการประชุม กรรมานุการพิจารณาเค้าโครงการเศรษฐกิจ ว่า “ตัวเลขนั้นเป็นการอุปมาเท่านั้น หน้าที่ของเราในที่นี้ก็คือ จะรับโปลิซีนี้หรือไม่ เมื่อรับแล้วจึงเรียกผู้ชำนาญมาทำการพิจารณาให้ละเอียดในภายหลัง”[8] และ “ยังมีรายละเอียดเรื่อง นัชชันนั่ลแบงก์และอื่นๆ อีกมาก แต่ต้องรับโปลิซีเสียก่อน”[9] จะเห็นว่าปรีดีเองก็ยอมรับว่าสิ่งที่เขียนไปใน เค้าโครงการฯ เป็น "โปลีซีที่เราจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจะรับ "หลักการใหญ่เหล่านั้นหรือไม่ และถ้าหากรับแล้วจึงจะค่อยมาใส่รายละเอียดในภายหลัง นั้นหมายความว่า แม้แต่ตัวปรีดีเองก็ยังต้องการให้มีการอภิปรายและถกเถียงถึง "หลักการใหญ่ของ เค้าโครงการฯ ก่อน รายละเอียดเป็นเพียงสิ่งที่มาเพิ่มภายหลังซึ่งไม่กระทบกับ "หลักการใหญ่ที่ได้นำเสนอไปแล้ว ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่คิดว่าการที่สถาบันปรีดีอ้างว่า เค้าโครงการฯ เป็นเพียงแผนคร่าวๆ ที่ไม่ได้มีรายละเอียดในการปฏิบัติจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เราไม่ควรพิจารณาที่ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับ "หลักการใหญ่ได้

อย่างไรก็ดี สถาบันปรีดีอาจถกเถียงต่อได้ว่า มีความเป็นไปได้ที่ปรีดีอาจจะเปลี่ยนแม้กระทั่ง "หลักการใหญ่ของ เค้าโครงการฯ ด้วยในแผนที่มีรายละเอียดครบถ้วน ดังที่สถาบันปรีดีได้อ้างการให้สัมภาษณ์ของปรีดีในปี 2525 โดยสถาบันปรีดีเขียนว่า “ในเค้าโครงที่ระบุว่ารัฐบาลจะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจนั้นมีนัยเพียงว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบดูแลในเบื้องต้นที่ราษฎรส่วนใหญ่มีความขัดสนทางเศรษฐกิจ ไม่มีที่ดิน เงินทุน และเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ และเมื่อสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งและมั่นคงแล้ว จะปล่อยให้สหกรณ์ดำเนินการโดยอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปรับผิดชอบจัดการทางเศรษฐกิจอีก” ประเด็นของผู้เขียนคือถึงแม้ปรีดีอาจจะเปลี่ยน "หลักการใหญ่ดังกล่าวจริงในภายหลัง แต่ผู้เขียนก็ไม่เห็นว่านี่จะสามารถใช้เป็นเหตุผลว่าเราไม่ควรให้ความสำคัญกับ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ ได้อย่างไร?

เราไม่อาจทราบได้ว่า "เจตนาภายในของปรีดีคืออะไรแน่ ที่ปรีดีเขียนใน เค้าโครงการฯ คือเขียนไม่ตรงกับที่ใจตัวเองต้องการหรือเพิ่งจะมาคิดเปลี่ยนใจภายหลังคำถามเหล่านี้อาจเป็นคำถามที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาความคิดทั้งชีวิตของปรีดี แต่คำถามเหล่านี้ไม่เกี่ยวอะไรเลยกับการถามว่า เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมหรือไม่และต้องย้ำว่าคำถามว่า เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมหรือไม่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับคำถามว่า ความคิด (ทั้งชีวิตของปรีดีมีความชอบธรรมหรือไม่ผู้เขียนจึงไม่เห็นเหตุผลว่าการเอาบทสัมภาษณ์ของปรีดีในปี 2525 ซึ่งไม่ได้มีอยู่ในตัว เค้าโครงการฯ มาตอบโต้ข้อวิพากษ์ที่มีต่อ เค้าโครงการฯ จะช่วยให้ เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมมากขึ้นได้อย่างไร?[10]

เพื่อให้เข้าใจประเด็นนี้ของผู้เขียนมากขึ้น ผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวกับปรีดี เช่น นักวิชาการคนหนึ่ง (สมมติว่าชื่อ นาย ก.) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งโดยได้เสนอข้อถกเถียงแบบหนึ่งเอาไว้ ต่อมา (สมมติในอีก 10 ปี ข้างหน้านาย กเกิดเปลี่ยนใจหรือเห็นว่าข้อถกเถียงของตนในหนังสือเล่มดังกล่าวมีข้อบกพร่องบางประการ จึงได้เขียนหนังสืออีกเล่มหนึ่งเพื่อแก้ไข (revise) ข้อบกพร่องบางประการในหนังสือเล่มแรกที่เขียนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าด้วยข้อเท็จจริงเช่นนี้ หากเราอธิบายความคิดหรือข้อถกเถียง (ทั้งชีวิตของนาย ก. - เช่น การตั้งหัวข้อว่า “ความคิดทางการเมืองของนาย ก.” – โดยการอ้างอิงกับงานที่เขียนขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วเท่านั้น โดยไม่อ้างอิงถึงงานที่เขียนขึ้นเล่มใหม่เลย เช่นนี้ เราจึงจะกล่าวได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมต่อนาย กแต่ถ้าหากเราต้องการวิพากษ์เฉพาะหนังสือที่เขียนขึ้นเมื่อ 10 ปีที่แล้วเท่านั้นเนื่องจากเห็นว่าหนังสือเล่มดังกล่าวมีความสำคัญ การที่เราจะไม่สนใจหนังสือเล่มล่าสุดของนาย กก็ย่อมไม่มีปัญหาอะไร ตราบใดที่เราไม่ได้บอกว่าหนังสือเมื่อ 10 ปีก่อนสะท้อนความคิด (ทั้งชีวิตของนาย ก.

ฉะนั้น การอ่านและวิจารณ์ เค้าโครงการฯ        โดยให้ความสำคัญกับ "ตัวบทจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการจะตอบได้ว่าแนวคิดหลัก (ideas) ที่ถูกเสนอใน เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมหรือไม่อย่างไรนี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้เขียนจึงให้ความสำคัญและต้องการให้ผู้ที่ศึกษา เค้าโครงการฯ  หันกลับมาให้ความสำคัญกับ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ อย่างจริงจัง

 

2. ความชอบธรรม กับ “บริบทของ เค้าโครงการฯ

 

สถาบันปรีดีวิจารณ์ว่าการจะตัดสินว่า เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมหรือไม่และอย่างไรนั้น จำเป็นต้องพิจารณา "บริบทของโลกและสยาม ณ เวลานั้นเสียก่อน โดยสถาบันปรีดียืนยันว่า “เค้าโครงเศรษฐกิจมีความชอบธรรมในบริบทเศรษฐกิจและสังคมของโลกและของประเทศสยามในสมัยนั้น”[11] ฉะนั้น โดยนัยก็คือการที่ผู้เขียนวิพากษ์ว่า เค้าโครงการฯ ไม่มีความชอบธรรม[12] นั้นไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะถกเถียงว่าแม้เราจะนำ "บริบท" (ทั้งของโลกและสยามตามที่สถาบันปรีดีได้ยกมามาพิจารณาด้วย ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า เค้าโครงการฯ ไม่มีความชอบธรรมอยู่เช่นเดิม เริ่มจากบริบทของโลก ณ ขณะนั้น สถาบันปรีดีเขียนว่า 

 

บริบทของโลกในช่วงปี พ.. 2472-2475 จะเห็นว่า เกิดสภาพเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก เศรษฐกิจระบบเสรีนิยมในอังกฤษเริ่มประสบปัญหา มีคนว่างงานจํานวนมาก หลายๆ ประเทศในโลกเริ่มเห็นผลเสียของระบบทุนนิยมที่การใช้เครื่องจักรก่อให้เกิดการว่างงาน ทําให้เริ่มมีแนวคิดที่ว่ารัฐจําเป็นต้องเข้ามาวางแผนเศรษฐกิจโดยไม่ปล่อยให้เป็นไปตามระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและในสมัยนั้น หลักการที่สนับสนุนให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจได้รับการตอบรับมากข้ึน ท้ังยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในด้านลบของการที่รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจมากนัก ดังน้ัน ประเทศทั้งหลายต่างพยายามหันมาดําเนินนโยบายเศรษฐกิจในแนวทางชาตินิยม พึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจและคุ้มครองการค้า เช่น การต้ังกําแพงภาษี เป็นต้น ในบริบทของโลก ที่ปราฏผลเสียของระบบทุนนิยมที่การใช้เครื่องจักรก่อให้เกิดการว่างงาน นายปรีดีจึงเขียนเค้าโครงฯ ให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจให้มีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยี เพื่อไม่ให้เกิดการว่างงาน จากการที่เครื่องจักรและเทคโนโลยีช่วยประหยัดแรงงาน เนื่องจากรัฐสามารถจัดหาคนไปทํางานอย่างอื่นได้ หรือลดชั่วโมงการทํางานลงเพื่อให้คนมีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหรือไปทํางานในกิจการสาธารณะ”[13]

 

ประเด็นสำคัญของสถาบันปรีดีในที่นี้คือ เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมเพราะ (1) เนื่องจาก ณ ขณะนั้น ระบบเศรษฐกิจของโลกมีปัญหา เช่น สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกและมีคนว่างงานจำนวนมาก และ (2) เนื่องจาก ณ ขณะนั้น ประเทศจำนวนมากได้หันมาใช้แนวคิดให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจ ซึ่งไม่พบว่าได้สร้างปัญหาให้แก่ระบบเศรษฐกิจในประเทศเหล่านั้น ฉะนั้น โดยนัยก็คือ เค้าโครงการฯ ย่อมมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการตาม "กระแสของโลก ณ ขณะนั้นได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่าเหตุผลเหล่านี้ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะให้ความชอบธรรมกับเค้าโครงการฯ ได้

ประการแรก เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากที่นำเอาข้อเสนอใน เค้าโครงการฯ ไปเปรียบเทียบกับแนวคิดที่ให้รัฐเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจในประเทศเหล่านั้น (เช่น อังกฤษ ฯลฯเค้าโครงการฯ ไม่ใช่เพียงแค่เสนอให้รัฐเข้ามาควบคุมดูแล (regulation) ระบบเศรษฐกิจแบบที่เกิดในประเทศทุนนิยมในตะวันตก แต่คือการเสนอให้รัฐเข้ามาเป็นผู้ผลิต (production) อย่างครบวงจรในระบบเศรษฐกิจเองทั้งหมด ไม่เคยปรากฏว่าประเทศอังกฤษที่สถาบันปรีดีอ้างถึงนั้นจะเคยอนุญาตให้รัฐบาลซื้อคืนที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมดมาเป็นของรัฐ,[14] ให้ราษฎรส่วนมากเป็นลูกจ้างของรัฐบาล,[15] ให้รัฐบาลเป็นเจ้าของโรงงานแทนเอกชน,[16] ให้รัฐบาลเป็นผู้ผลิตปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตเอง,[17] หรือให้รัฐบาลใช้วิธีจ่ายเงินเดือนให้ราษฎรเป็นปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต (สิ่งของโดยตรง และจะให้เป็น "เงินก็ต่อเมื่อ “ราษฎรต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นราคาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ตนได้รับ” เท่านั้น[18] ฯลฯ

ประการที่สอง สถาบันปรีดีใช้เหตุผลว่า “ในสมัยนั้น หลักการที่สนับสนุนให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจได้รับการตอบรับมากขึ้น ท้ังยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในด้านลบของการที่รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจมากนัก” เพื่อนำมาสู่ข้อสรุปที่ว่าการที่ เค้าโครงการฯ เสนอให้รัฐเข้ามาจัดการเศรษฐกิจเองย่อมไม่ใช่เรื่องที่แปลกแต่อย่างใด เพราะหลายๆ ที่ก็ทำกัน และก็น่าจะไม่สร้างผลเสียหายมากนักอีกด้วย แต่ข้อเท็จจริงก็คือ สิ่งที่ เค้าโครงการฯ เสนอว่าจะทำนั้นยังไม่มีประเทศทุนนิยมในโลกตะวันตก (คิดว่าสถาบันปรีดีคงไม่ได้หมายถึงประเทศอย่างโซเวียตเคยทำมาก่อนในยุคเวลานั้น ดังนั้น การที่ประเทศอื่น (เช่น อังกฤษไม่เกิดผลเสียหายจึงไม่สามารถเอามาใช้อ้างอิงว่าสิ่งที่ เค้าโครงการฯ เสนอว่าจะทำนั้นจะไม่เกิดผลเสียหาย สถาบันปรีดีเข้าใจไปว่าการที่รัฐเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจมีลักษณะเหมือนกันหมด แต่ที่จริงแล้วการที่รัฐเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจนั้นมีระดับที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งระดับที่ถูกนำเสนอใน เค้าโครงการฯ นั้นมีลักษณะที่รัฐครอบงำสังคมมากกว่าของประเทศทุนนิยมในตะวันตกหลายๆ ที่จนไม่อาจนำมาเปรียบเทียบกันได้เลย

ประการที่สาม การอ้างว่าประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดการว่างงาน ฯลฯ กับการให้เหตุผลว่า ดังนั้น รัฐต้องเข้ามาเป็นเจ้าของที่ดินที่ทำการผลิตเองทั้งหมด ต้องเป็นเจ้าของโรงงานแทนเอกชน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงทางตรรกะกัน การที่ประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจย่อมเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข แต่วิธีการในการแก้ปัญหาสามารถมีได้หลายวิธี ข้อเสนอใน เค้าโครงการฯ เป็นเพียงหนึ่งในข้อเสนอการแก้ปัญหาเท่านั้น การที่สถาบันปรีดีพูดราวกับว่า เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมเพราะสอดคล้องกับสถานการณ์ (หรือบริบทโลก ณ ขณะนั้น ราวกับว่าเป็นทางเลือกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นั้นไม่อาจถูกรองรับทางตรรกะได้ เราอาจพูดได้เช่นกันว่าเนื่องจากประเทศเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เกิดการว่างงาน ฯลฯ ดังนั้น เราจึงควรแก้ปัญหาโดยให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยการให้รัฐเข้ามาเป็นผู้ผลิตเสียเองแบบที่ เค้าโครงการฯ เสนอ เป็นต้น การอ้างเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจไม่สามารถเชื่อมโยงทางตรรกะกับการได้ข้อสรุปว่าข้อเสนอใน เค้าโครงการฯ เป็นสิ่งที่ชอบธรรมโดยตัวมันเองได้

คำถามคือ ถ้าเช่นนั้นแล้วจะดูอย่างไรว่ามีความชอบธรรมหรือไม่คำตอบก็คือต้องกลับมาพิจารณาที่ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ เป็นหลัก โดยดูว่าหลักการใหญ่ของมันจะทำให้ชีวิตทางเศรษฐกิจของผู้คนออกมามีหน้าตาเป็นอย่างไร เป็นต้น แน่นอนว่า "บริบทก็ยังเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณา แต่ประเด็นคือการอ้าง "บริบทโดยตัวมันเองไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินได้ว่าข้อเสนอใน เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมหรือไม่

ต่อมา สถาบันปรีดีอภิปรายถึง "บริบทของสยาม ณ เวลานั้น โดยถกเถียงว่าข้อเสนอใน เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมเพราะมีความเหมาะสมเข้ากับ "บริบทของสยาม ณ เวลานั้น โดยเขียนว่า

 

บริบทของประเทศสยามในช่วงก่อนปี พ.. 2476 อาชีพหลักของชาวสยามคือ การทํานา (ประมาณ 80% ของประชากรท้ังประเทศรองลงมาคือ การรับข้าราชการ ชาวนานับเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังยากจนและมีความเป็นอยู่อย่างลําบากยากแค้น ไม่สามารถเข้าถึงที่ดิน เงินทุน เทคโนโลยี อีกท้ังยังมีปัญหาด้านการชลประทาน และถูกเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ขาดอํานาจต่อรองทางเศรษฐกิจกับกลุ่มนายทุน การค้าพาณิชย์อยู่ในมือของชาวต่างชาติ นายปรีดีจึงเห็นว่าการที่จะได้มาซึ่งระบอบประชาธิปไตยต้องเริ่มจากการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาความยากจนของชาวชนบท ในสมัยนั้นราษฎรและเอกชนของไทยยังคงมีความอ่อนแอในทางเศรษฐกิจอยู่เป็นอันมาก ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตรวมถึงไม่ได้ประกอบกิจการทางการค้า จึงไม่สามารถให้เอกชนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการดําเนินการทางเศรษฐกิจเหมือนสถานการณ์ปัจจุบันได้ แนวทางเดียวที่จะบํารุงความสุขสมบูรณ์ให้ราษฎรก็คือ ในเบื้องต้น รัฐบาลจะต้องมีบทบาทสำคัญในการเข้าจัดการและรับผิดชอบดูแลระบบเศรษฐกิจเสียก่อน โดยการจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมให้มีเสถียรภาพ วางหลักประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎรต้ังแต่เกิดจนตาย และสนับสนุนให้ราษฎรที่เป็นชาวนายากจนรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ เพื่อประกอบการเศรษฐกิจแบบครบรูปเพื่อร่วมกันผลิต ร่วมกันจําหน่ายจัดหาสิ่งจําเป็นในการบริโภคให้กับสมาชิก และร่วมกันสร้างสถานที่อยู่เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตก่อน โดยการให้ความสนับสนุนต่อสหกรณ์ รวมถึงที่ดิน เงินทุนและเทคโนโลยีตลอดจนกิจการสาธารณูปการและสาธารณูปโภคเพื่อช่วยเหลือราษฎรส่วนใหญ่ที่ยากจนและไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้[19]

 

โดยสรุป ในความคิดของสถาบันปรีดี บริบทที่ทำให้ข้อเสนอของ เค้าโครงการฯ เหมาะสม ณ ขณะนั้น ก็คือการที่ประชากรส่วนใหญ่ยังเป็นชาวนายากจนที่ "ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และ “ไม่สามารถเข้าถึงที่ดิน เงินทุน เทคโนโลยี” อย่างไรก็ตาม คำถามคือบริบทเหล่านี้จะช่วยให้ข้อเสนอของ เค้าโครงการฯ มีความชอบธรรมมากขึ้นจริงหรือผู้เขียนยังคงเห็นว่าข้อเสนอหลักที่สุด[20] ของ เค้าโครงการฯ อย่างการเสนอให้รัฐบาลซื้อคืนที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมดมาเป็นของรัฐนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม แม้จะนำบริบทดังกล่าวเข้ามาร่วมพิจารณาแล้วก็ตาม ถ้าหากเป้าหมายคือการช่วยให้ชาวนาเหล่านั้นสามารถลืมตาอ้าปากได้ สามารถเข้าถึงที่ดิน เงินทุน เทคโนโลยีต่างๆ มีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจมากขึ้น ฯลฯ คำถามคือ การให้รัฐบาลซื้อคืนที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมดมาเป็นของรัฐและให้รัฐเป็นผู้วางแผนการใช้ที่ดินเหล่านั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

เป็นความจริงที่ว่าถ้าหากที่ดินที่ทำการผลิตอยู่ในมือรัฐบาลแล้ว ชาวนาจะมีงานทำ (เพราะรัฐบาลจะบังคับให้ทำงานและจะสามารถเข้าถึงที่ดิน ทุน เทคโนโลยีต่างๆ ได้ (เพราะทั้งหมดเป็นของรัฐบาลเป็นต้น แต่ก็เป็นความจริงเช่นกันที่โครงการเช่นนี้ทำลายความมีอิสระของชาวนา ที่ดินที่กล่าวว่าชาวนาจะสามารถเข้าถึงได้นั้นยังคงเป็นของรัฐ ส่วนชาวนาเป็นได้เพียงลูกจ้างของรัฐบาลที่มีหน้าที่ต้องทำตามคำสั่งของรัฐบาลในการกำหนดแผนเศรษฐกิจ ผู้เขียนไม่คิดว่านี่คือการบรรลุเป้าหมายของการทำให้ชาวนาลืมตาอ้าปาก รัฐบาลอาจใช้วิธีอื่นๆ ที่ไม่ต้องทำลายเสรีภาพของชาวนาได้ เช่น การปฏิรูปที่ดิน (ด้วยมาตรการทางภาษี ฯลฯเพื่อสนับสนุนให้เกิดการกระจายตัวของการถือครองที่ดิน เพื่อให้ชาวนาอิสระรายย่อยสามารถเข้าถึงที่ดิน (ของตนเองได้ง่ายขึ้น เป็นต้น แต่นี่ไม่ใช่เป้าหมายของ เค้าโครงการฯ เลย ตรงกันข้าม เป้าหมายของ เค้าโครงการฯ คือการรวมหมู่ที่ดิน แล้วให้ผู้ชำนาญการเป็นผู้วางแผนการผลิตบนที่ดินเหล่านั้น โดยให้ชาวนาเป็นผู้ออกแรงทำตามแผนเหล่านั้นเท่านั้น[21]

นอกจากนั้น สิ่งที่เสนอใน เค้าโครงการฯ ก็ห่างไกลกับแนวคิดเรื่องการปฏิรูปที่ดินที่มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ (ชาวนารายย่อย ฯลฯสามารถเข้าถึงที่ดินที่ทำการผลิตเป็นของตนเองได้ เป้าหมายของ เค้าโครงการฯ คือการให้รัฐเป็นเจ้าของที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมด ตามหลักการนี้ เจ้าที่ดินใหญ่อาจไม่สามารถครอบครองที่ดินจำนวนมากอย่างกระจุกตัวได้ตามเดิมก็จริง แต่ก็เป็นจริงอีกเช่นกันที่ชาวนารายย่อยก็จะไม่สามารถเป็นเจ้าของที่ดินที่ทำการผลิตได้เช่นเดียวกัน ผู้เขียนไม่เห็นว่าวิธีเช่นนี้จะช่วยให้ชาวนามีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อชาวนาไม่มีที่ดินที่ทำการผลิตเป็นของตัวเอง ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะทำอะไรและอย่างไรบนที่ดินที่ทำการผลิตของตนเอง ฯลฯ ผู้เขียนเห็นว่าเป้าหมายที่ชอบธรรมนั้นไม่ควรเป็นเพียงแค่การทำให้ชาวนามีงานทำหรือมีปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมให้ชาวนามีอิสระในการกำหนดชีวิตทางเศรษฐกิจของตนเองได้ด้วย ซึ่งผู้เขียนไม่คิดว่า เค้าโครงการฯ จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวนี้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ภายใต้บริบทในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม

นอกจากบริบททางเศรษฐกิจแล้ว สถาบันปรีดียังได้กล่าวถึงบริบททางการเมืองของสยาม ณ เวลานั้นด้วย โดยเห็นว่าการที่ผู้เขียนวิจารณ์ เค้าโครงการฯ ว่าทำลายหลักการการสร้างพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (democratic citizenship) นั้น เป็นการวิจารณ์ที่ไม่ถูกบริบท โดยสถาบันปรีดีเขียนว่า

 

การอธิบายว่าเค้าโครงฯ ไม่ได้ให้ความสําคัญกับการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนทุกคนมีอํานาจในการตัดสินใจร่วมกัน โดยรัฐเชื่อใจว่าประชาชนมีความสามารถในการปกครองตนเองนั้น เป็นข้อวิพากษ์ที่ไม่ได้คํานึงถึงบริบททางประวัติศาสตร์และสังคม เนื่องจากภายใต้บริบทก่อนปี พ.. 2476 ราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่มีการศึกษา มีความเป็นอยู่ลำบาก และเพิ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้เพียง 1 ปี ราษฎรส่วนใหญยังไม่เข้าใจในระบอบประชาธิปไตย”[22]

 

ในแง่หนึ่ง การให้เหตุผลแบบนี้ของสถาบันปรีดี[23] เท่ากับเป็นการยอมรับว่า เค้าโครงการฯ ขัดแย้งกับระบอบประชาธิปไตย โดยให้เหตุผลสนับสนุนการไม่เป็นประชาธิปไตยของ เค้าโครงการฯ ว่าเป็นเพราะ "บริบทในขณะนั้น ราษฎรสยามยังไม่มีการศึกษา ยากจน และไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น นัยก็คือการให้อำนาจแก่ราษฎรในการปกครองในเวลานั้นจึงไม่เหมาะสม และดังนั้น เค้าโครงการฯ จึงชอบธรรมแล้วที่จะบังคับให้ราษฎรทำตามคำสั่งของรัฐบาลมากกว่าการให้ราษฎรมีอำนาจกำหนดตนเอง

โดยพื้นฐานแล้ว ผู้เขียนไม่ยอมรับเหตุผลเรื่องความไม่พร้อมของประชาชนในการปกครองตนเอง ไม่ว่าจะภายใต้บริบทในอดีตขณะนั้นหรือในปัจจุบัน และไม่ว่าจะโดยอ้างว่าคนส่วนใหญ่ยังขาดการศึกษา ยังไม่เข้าใจระบอบประชาธิปไตย หรืออื่นๆ แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่ตัดสินใจจะต้องถูกต้องเสมอ แต่การอ้างว่าคนส่วนใหญ่ไม่ควรมีอำนาจในการปกครองตนเอง (ด้วยเหตุผลต่างๆถือเป็นการขัดแย้งกับหลักการประชาธิปไตยอย่างยิ่ง คำถามคือ ใครคือผู้กำหนดว่าเมื่อไหร่ประชาชนจะพร้อมสำหรับการปกครองตนเองประชาชนต้องทำอะไรและอย่างไรเพื่อที่จะพิสูจน์ให้ชนชั้นนำยอมรับว่าประชาชนพร้อมสำหรับการปกครองตนเองแล้วอาจเป็นความจริงที่ประชาชนส่วนใหญ่ขณะนั้นยังขาดการศึกษา "ในระบบแต่เราจะพูดว่าประชาชนไม่มีแม้กระทั่งความสามารถในการรู้ว่าตนเองต้องการอะไรอย่างนั้นหรือประชาชนเปรียบเหมือนเด็กที่ไม่ประสีประสาถึงขนาดไม่รู้ว่าจะจัดการกับชีวิตของตนเองอย่างไรหรือ?

 

3. เค้าโครงการฯ กับระบบตลาดและระบบเงินตรา

 

สถาบันปรีดีถกเถียงว่า เค้าโครงการฯ หากถูกนำมาใช้จะไม่เป็นการทำลายระบบตลาดและระบบเงินตรา โดยสถาบันปรีดีให้เหตุผลว่า

 

เค้าโครงฯ ไม่ไ่ด้ทําลายระบบตลาด เนื่องจากภายใต้เค้าโครงฯ มีการแบ่งการประกอบการเศรษฐกิจเป็นสหกรณ์ต่างๆ โดยสมาชิกสหกรณ์รวมกันประกอบการเศรษฐกิจครบรูป คือร่วมกันประดิษฐ์ จําหน่าย ขนส่ง จัดหาของอุปโภคให้แก่สมาชิก และร่วมกันในการสร้างสถานที่อยู่โดยรัฐบาลเป็นผู้ออกที่ดินและทุน และสมาชิกสหกรณ์เป็นผู้ออกแรง ระบบตลาดยังคงมีอยู่ มีการซื้อขายสินค้าระหว่างสหกรณ์และสมาชิกของสหกรณ์ และไม่ได้ทําลายระบบเงินตรา และยังเป็นการที่ราษฎรโดยสหกรณ์และรัฐบาลเป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้ปัจจัยการผลิต ทําให้ได้รับส่วนแบ่งจากมูลค่าเพิ่มที่ได้จากการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเป็นธรรม”[24]

 

ผู้เขียนคิดว่าระบบตลาดตามความเข้าใจโดยทั่วไปหมายถึง การที่ผู้คนทำการผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการกัน โดยมีกลไกตลาดเป็นตัวกำหนดราคาและปริมาณของสินค้าและบริการ คำนิยามนี้อาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นัก แต่ผู้เขียนคิดว่าเพียงพอที่จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า เค้าโครงการฯ ทำลายระบบตลาดหรือไม่ อย่างไร ซึ่งในความเห็นของผู้เขียน เค้าโครงการฯ ทำลายระบบตลาด เพราะรัฐบาล (ผ่านการสั่งงานลงไปที่สหกรณ์ต่างๆจะเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตเองทั้งหมดให้กับราษฎร ในแง่นี้ ระบบตลาดจึงไม่มีความจำเป็นในฐานะพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค กล่าวคือ โดยปกติแล้ว ระบบตลาดคือการที่ผู้ผลิต (เอกชนทำการผลิตสินค้าและนำไปขายในตลาด ส่วนผู้บริโภคเป็นผู้มาเลือกซื้อสินค้าเหล่านั้น แต่ใน เค้าโครงการฯ จะเห็นได้ว่ารัฐบาลเป็นผู้ผลิตปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต (โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดของสังคม และเป็นผู้มอบสิ่งเหล่านั้นให้แก่ราษฎรในรูปของ "สิ่งของ" (ปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตโดยตรง ขอให้พิจารณาข้อความใน เค้าโครงการฯ ต่อไปนี้

 

จำต้องคำนวณและสืบสวนว่า ปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตตามความต้องการของราษฎรนั้น มีอะไรบ้างและ ฯลฯ จะต้องมีจำนวนเท่าใดจึ่งจะพอเพียงแก่ความสมบูรณ์ของราษฎรตามควรแก่ความเจริญ ... เมื่อคำนวณและสืบสวนดั่งกล่าวในข้างต้นแล้ว ก็จะต้องคำนวณและสืบสวนต่อไปว่า สิ่งเหล่านั้นถ้าจะทำขึ้นจะต้องอาศัยที่ดิน แรงงาน เงินทุนเป็นจำนวนเท่าใด ... เมื่อทราบจากการคำนวณดั่งกล่าวข้างต้นแล้วก็จะต้องคำนวณและสืบสวนถึงที่ดิน แรงงาน เงินทุนของรัฐบาลที่มีอยู่ในเวลานี้ และที่จะมีขึ้น เพื่อทราบกำลังแห่งการที่จะประกอบเศรษฐกิจ ... เมื่อเราคำนวณได้ดั่งนี้แล้วก็จะทราบได้ว่า เรามีที่ดินและแรงงานเหลืออยู่เท่าใด เราขาดเงินทุนเท่าใด และเราจะจัดให้ที่ดินนั้นเป็นประโยชน์อย่างไร และแบ่งการเศรษฐกิจออกเป็นสหกรณ์อย่างไร และที่สุดก็จะประมาณได้ว่าการที่จะทำให้ราษฎรได้ถึงซึ่งความสมบูรณ์นั้น เราจะต้องอาศัยเวลาเท่าใด ในปีหนึ่งๆ เราประมาณว่าจะทำได้อย่างไร”[25]

 

จะเห็นได้ว่าเป้าหมายหลักของ เค้าโครงการฯ ก็คือการให้รัฐบาลเป็นผู้ทำการผลิตปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตเองโดยมีสหกรณ์เป็นผู้ทำตามคำสั่งของรัฐบาล ตรงกันข้ามกับความเข้าใจโดยทั่วไปว่าสหกรณ์ใน เค้าโครงการฯ คือการที่ราษฎรรวมตัวกันเองภายในชุมชนและกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน (สหกรณ์ตนเอง แต่ที่จริงแล้ว สหกรณ์ใน เค้าโครงการฯ เป็นเพียงผู้ทำตามคำสั่งของรัฐบาลเท่านั้น มีลักษณะสั่งการจากบนลงล่าง (top-down) กล่าวคือ รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดก่อนว่าจะต้องใช้ทุน ที่ดิน และปัจจัยการผลิตอื่นๆ มากน้อยเท่าไหร่และอย่างไร หลังจากนั้น จึงค่อยดูว่าจะ “แบ่งการเศรษฐกิจออกเป็นสหกรณ์อย่างไร”[26]

ในส่วนที่เกี่ยวกับสหกรณ์นี้ สถาบันปรีดีได้อ้างการให้สัมภาษณ์ของปรีดีในปี 2525 โดยสถาบันปรีดีเขียนว่า “ในเค้าโครงที่ระบุว่ารัฐบาลจะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจนั้น มีนัยเพียงว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบดูแลในเบื้องต้นที่ราษฎรส่วนใหญ่มีความขัดสนทางเศรษฐกิจ ไม่มีที่ดิน เงินทุน และเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพ และเมื่อสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งและมั่นคงแล้ว จะปล่อยให้สหกรณ์ดำเนินการโดยอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปรับผิดชอบจัดการทางเศรษฐกิจอีก”[27] แต่หากเรายึดเอา "ตัวบทจาก เค้าโครงการฯ เป็นสำคัญแล้ว จะเห็นว่าไม่มีส่วนไหนเลยใน เค้าโครงการฯ ที่บอกหรือแสดงนัยว่า “เมื่อสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งและมั่นคงแล้ว จะปล่อยให้สหกรณ์ดำเนินการโดยอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปรับผิดชอบจัดการทางเศรษฐกิจอีก” ตามที่สถาบันปรีดีกล่าว

ตรงกันข้าม มีแต่การระบุบอกว่า “เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเอง รัฐบาลอาจกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ ราษฎรซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาลก็ต้องประพฤติตาม”[28] และ “ข้อที่เราวิตกว่าชาวนาจะมีเวลาว่างอีก เดือนนั้น ย่อมจะไม่ต้องวิตกอีกต่อไป รัฐบาลคงใช้เวลาอีก เดือนนั้นไว้เป็นประโยชน์ เช่นเมื่อว่างจากทำนาก็อาจทำไร่อย่างอื่น หรือทำถนนหนทาง สุดแต่แผนเศรษฐกิจแห่งชาติกำหนดไว้”[29] และ “แม้ตามหลักรัฐบาลจะเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเสียเองก็ดี แต่ในประเทศที่กว้างขวางมีพลเมืองกว่า 11 ล้านคน ดั่งประเทศสยามนี้ การประกอบเศรษฐกิจจะขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางเสียทั้งนั้นแล้ว การควบคุมตรวจตราอาจจะเป็นไปโดยทั่วถึงไม่ได้ ฉะนั้นจะต้องแบ่งการประกอบเศรษฐกิจนี้เป็นสหกรณ์ต่างๆ … สหกรณ์นี้จะได้ประกอบการเศรษฐกิจตามแผนเศรษฐกิจแห่งชาติ”[30]

ตัวอย่างเหล่านี้จาก เค้าโครงการฯ แสดงให้เห็นว่า ประชาชน (“ลูกจ้างของรัฐบาล”ถูกคาดหวังให้ต้อง "ประพฤติตามรัฐบาล โดยที่ "สหกรณ์ถูกคาดหวังให้เป็นเพียงผู้ช่วยของรัฐบาลในการ "ควบคุมตรวจตราแผนที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลกลางเพื่อให้ "เป็นไปโดยทั่วถึงเท่านั้น ไม่มีส่วนไหนเลยใน เค้าโครงการฯ ที่ระบุว่าประชาชนหรือสหกรณ์สามารถมีอิสระในการกำหนดการประกอบการเศรษฐกิจของชุมชนตนเองได้โดยไม่ถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ตรงกันข้าม มีแต่การบอกว่า “รัฐบาลเป็นผู้ออกที่ดินและเงินทุน สมาชิกสหกรณ์เป็นผู้ออกแรง … ผลที่สหกรณ์ทำได้นั้น สหกรณ์ย่อมทำการจำหน่ายและขนส่ง ในความควบคุมของรัฐบาล … สหกรณ์จะได้จัดสร้างสถานที่อยู่ ในความควบคุมของรัฐบาล”[31]

จะเห็นได้ว่าไม่มีตรงไหนเลยใน "ตัวบทที่แสดงนัยว่าสหกรณ์สามารถมีอิสระในการตัดสินใจในการวางแผนในเรื่องที่ "สำคัญอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลกลางได้ จริงอยู่ว่าสหกรณ์เป็นผู้ทำการจำหน่ายและขนส่งผลที่สหกรณ์นั้นๆ ทำขึ้นมาได้ แต่ไม่ได้มีบอกเลยว่าสหกรณ์จะสามารถวางแผนที่สำคัญอย่างเช่นว่า ที่ดินผืนต่างๆ จะถูกใช้ไปทำอะไรได้บ้าง เพราะ เค้าโครงการฯ ระบุชัดแล้วว่าที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมดจะเป็นของรัฐบาลและรัฐบาลจะให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้กำหนดว่าจะใช้ที่ดินแต่ละผืนอย่างไรบ้าง ดังที่ เค้าโครงการฯ ได้เขียนไว้ว่า

 

เมื่อที่ดินได้กลับมาเป็นของรัฐบาลเช่นนี้แล้ว รัฐบาลจะได้กำหนดลงไปได้ถนัดว่าการประกอบเศรษฐกิจในที่ดินนั้นจะแบ่งออกเป็นส่วนอย่างไร และจะต้องใช้เครื่องจักรกลชนิดใดเป็นจำนวนเท่าใด การทดน้ำจะต้องขุดหรือทำคันนาอย่างไร ในเวลานี้ที่ดินที่แยกย้ายอยู่ในระหว่างเจ้าของต่างๆ นั้น ต่างเจ้าของก็ทำคูนาของตน แต่เมื่อที่ดินตกเป็นของรัฐบาลดั่งนี้แล้ว ถ้าที่่ที่มีระดับเดียวกันก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้มาก เช่น การทำคูทำคันนาอาจจะทำน้อยลงก็ได้ นอกจากนั้นการใช้เครื่องจักรกล เช่นการไถก็จะได้ดำเนินติดต่อกัน มิฉะนั้นจะต้องไถที่นี่แห่งหนึ่งเป็นการชักช้าเสียเวลา และการบำรุงที่ดินโดยวิชาเทคนิคย่อมจะทำได้สะดวก เราจะเห็นได้ว่าในเวลานี้ราษฎรยังหลงเชื่อในวิธีโบราณ แม้ผู้ชำนาญการกสิกรรมจะพร่ำสอนก็ต้องกินเวลาอีกนาน เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเอง รัฐบาลอาจกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ ราษฎรซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาลก็ต้องประพฤติตาม”[32]

 

จะเห็นว่าประชาชนทั่วไป (และสหกรณ์ไม่ได้ถูกกำหนดให้มีอำนาจในการวางแผนและควบคุมการผลิตด้วยตนเองได้ นอกจากนั้น ถ้าเราย้อนกลับไปพิจารณาข้อคิดเห็นของสถาบันปรีดีที่ว่า “เมื่อสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นมีความเข้มแข็งและมั่นคงแล้ว จะปล่อยให้สหกรณ์ดำเนินการโดยอิสระโดยรัฐไม่เข้าไปรับผิดชอบจัดการทางเศรษฐกิจอีก” แม้เราจะสมมติว่าข้อคิดเห็นนี้อาจเป็นสิ่งที่ เค้าโครงการฯ ได้วางแผนไว้จริง แต่คำถามคือที่บอกว่า รัฐบาลจะปล่อยให้สหกรณ์เป็นอิสระก็ต่อเมื่อสหกรณ์มีความเข้มแข็งและมั่นคงแล้วนั้นหมายความว่าอย่างไรมีความเข้มแข็งและมั่นคงตามมาตรฐานของใครถ้าหากเราอ่าน "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ จะเห็นได้ว่า เค้าโครงการฯ ไม่มีความเชื่อมั่นในราษฎรเลย เช่น การกล่าวว่า “ในเวลานี้ราษฎรยังหลงเชื่อในวิธีโบราณ แม้ผู้ชำนาญการกสิกรรมจะพร่ำสอนก็ต้องกินเวลาอีกนาน”[33] ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่ามาตรฐานที่รัฐบาลใช้ตัดสินว่าสหกรณ์และประชาชนควรจะมีอิสระ ก็คือเมื่อรัฐบาลเห็นว่าสหกรณ์และประชาชนเห็นด้วยหรือคิดเหมือนกับผู้ชำนาญการ หรือแผนที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลนั่นเอง ซึ่งก็แปลว่าไม่ได้มีความอิสระอย่างแท้จริง

ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าสหกรณ์ไม่ได้มีอิสระในการกำหนดแผนการผลิตด้วยตนเอง ตรงกันข้าม สหกรณ์เป็นเพียงเครื่องมือที่ทำตามคำสั่งของรัฐบาล (state functionaries) ดังนั้น ที่สถาบันปรีดีกล่าวว่า “เค้าโครงฯ ไม่ได้ทําลายระบบตลาด เนื่องจากภายใต้เค้าโครงฯ มีการแบ่งการประกอบการเศรษฐกิจเป็นสหกรณ์ต่างๆ … ระบบตลาดยังคงมีอยู่ มีการซื้อขายสินค้าระหว่างสหกรณ์และสมาชิกของสหกรณ์” นั้นจึงไม่สามารถใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนข้อถกเถียงที่ว่า เค้าโครงการฯ ไม่ได้ทำลายระบบตลาดได้

เมื่อกล่าวถึงระบบตลาดแล้ว ควรกล่าวด้วยว่านายทุนและโรงงานของเอกชนก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ เค้าโครงการฯ เช่นกัน สถาบันปรีดีเขียนว่า เค้าโครงการฯไม่ได้เป็นการทําลายเสรีภาพของการทําธุรกิจแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการกําหนดแนวทางการสะสมทุนที่เหมาะสม”[34] ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการตีความ เค้าโครงการฯ เช่นนี้ จริงอยู่ที่ เค้าโครงการฯ ได้กล่าวไว้ว่า “รัฐบาลอาจยอมยกเว้นให้เอกชนที่เป็นคนมั่งมีอยู่แล้วในเวลานี้ หรือผู้อื่นซึ่งไม่ประสงค์เป็นข้าราชการ ประกอบการเศรษฐกิจของตนเอง เมื่อผู้นั้นแสดงได้ว่าการประกอบเศรษฐกิจตามลำพังของเขา เขาจะมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงชีวิตของเขาได้ตลอดแม้เจ็บป่วยหรือชราภาพ”[35] และ “การโรงงานซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของอยู่แล้วในเวลานี้ เมื่อผู้นั้นประสงค์จะทำต่อไปโดยไม่อยากเป็นข้าราชการแล้ว ก็อนุญาตเช่นเดียวกัน”[36] ในแง่นี้ จึงดูเหมือนว่า เค้าโครงการฯ ให้เสรีภาพในการทำธุรกิจของเอกชน (เช่น การเป็นเจ้าของโรงงานของนายทุน ฯลฯได้ อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่านี่เป็นการตีความ เค้าโครงการฯ ที่ผิดพลาด

เงื่อนไขสำคัญของการทำธุรกิจของเอกชน เช่น การเป็นเจ้าของโรงงานของนายทุน คือต้องมีที่ดินสำหรับการก่อตั้งบริษัทหรือโรงงานที่ทำการผลิตของตนเอง ซึ่งที่ดินดังกล่าวก็คือ ที่ดินที่ทำการผลิต (หรือ "ที่ดินที่จะใช้ประกอบการเศรษฐกิจ"[37] ตามนิยามของ เค้าโครงการฯแต่เนื่องจาก เค้าโครงการฯ ระบุไว้ชัดว่า “ที่ดินที่รัฐบาลต้องซื้อกลับคืนนี้ ก็คือ ที่ดินที่จะใช้ประกอบการเศรษฐกิจ”[38] ฉะนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่เอกชนจะสามารถหาที่ดินมาเพื่อใช้ก่อตั้งบริษัทหรือโรงงานได้ นอกจากนั้น อีกเงื่อนไขสำคัญของการทำธุรกิจเอกชน (เช่น การผลิตอุตสาหกรรมคือจะต้องมี แรงงานค่าจ้าง (wage labour) ซึ่งหมายถึงแรงงานเสรีที่ดำรงชีวิตด้วยค่าจ้าง ในระบบทุนนิยม แรงงานเหล่านี้คือผู้ผลิตโดยตรง (direct producer) ให้กับโรงงานเอกชน ถ้าไม่มีแรงงานค่าจ้างก็ไม่สามารถดำเนินกิจการได้

แต่ผู้เขียนเห็นว่า เค้าโครงการฯ ทำลายการดำรงอยู่ของแรงงานค่าจ้างในระบบเศรษฐกิจ เพราะ เค้าโครงการฯ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าทุกคนจะต้องเป็นลูกจ้างของรัฐบาล โดยมีข้อยกเว้นคือ (1) “นักประพันธ์ ทนายความ ช่างเขียน ครูในวิชาบางอย่าง ฯลฯ”[39]; (2) “เอกชนที่เป็นคนมั่งมีอยู่แล้ว”[40]และ (3) “การโรงงานซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของอยู่แล้วในเวลานี้”[41] บุคคลจำพวกที่ (1) นั้นไม่ใช่ผู้ที่จะมาทำงานในโรงงานอยู่แล้ว ดังนั้น ข้อยกเว้นสำหรับคนพวกที่ (1) นี้จึงไม่เกี่ยวกับแรงงานค่าจ้าง (ที่รับจ้างทำงานในโรงงานเอกชนประเด็นสำคัญอยู่ที่ข้อยกเว้นสำหรับคนจำพวกที่ (2) ถ้าพูดให้ง่ายขึ้น คนจำพวกที่ (2) ก็คือคนรวยเท่านั้น ซึ่งโดยนัยก็คือคนที่ไม่ใช่คนรวยทั้งหมดจะต้องเป็นลูกจ้างของรัฐบาล

คำถามก็คือแรงงานค่าจ้างถือเป็นคนรวยหรือไม่คำตอบคือไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะถ้าเป็นคนรวยแล้วจะต้องมาทำงานรับจ้างในโรงงานเพื่ออะไร นั่นหมายความว่า แรงงานค่าจ้างเหล่านี้จะต้องไปเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทั้งหมด คำถามต่อมาคือแล้วจะเหลือใครที่จะมาทำงานในโรงงานเอกชนคำตอบก็คือไม่มี ซึ่งก็ทำให้ข้อยกเว้นที่ (3) ไม่มีความหมายอะไรนั่นเอง เพราะเมื่อไม่มีแรงงานค่าจ้างเหลืออยู่ในระบบเศรษฐกิจ ถึงจะอนุญาตให้มีโรงงานเอกชนก็ไม่มีความหมายอะไร คือมีแต่โรงงานเอกชนของตนแต่ไม่สามารถหาแรงงานค่าจ้างมาทำการผลิตได้ และในอนาคตถ้าอยากจะขยายโรงงานก็ไม่สามารถทำได้ เพราะการจะขยายโรงงานต้องการที่ดินใหม่ๆ แต่จะหาที่ดินใหม่ๆ ได้จากที่ไหนในเมื่อรัฐบาลได้ซื้อคืนไปหมดแล้ว ดังนั้น จึงเป็นข้อสรุปว่าภายใต้ เค้าโครงการฯ ระบบตลาดรวมถึงธุรกิจเอกชนไม่สามารถดำรงอยู่ได้

นอกจากนั้น เค้าโครงการฯ ยังทำลายระบบเศรษฐกิจเงินตรา เค้าโครงการฯ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ารัฐบาลมีความต้องการจ่ายเงินเดือนให้กับราษฎร (ส่วนใหญ่ผู้ที่จะถูกทำให้เป็นลูกจ้างของรัฐบาลด้วยระบบการแลกเปลี่ยนด้วยสิ่งของ (the barter economy) ลองพิจารณาข้อความจาก เค้าโครงการฯ ต่อไปนี้

 

เงินย่อมเป็นสิ่งที่จะใช้แลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ การจ่ายเงินเท่ากับการจ่ายอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ ขอให้ระลึกว่าเงินที่ท่านหาได้ ท่านนำเอาเงินนั้นไปทำไม ท่านก็นำเอาไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เหตุฉะนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบเงินว่าเป็นคะแนนชนิดหนึ่งก็ไม่ผิด การจ่ายเงินเดือนก็เท่ากับการจ่ายคะแนนให้ราษฎร ที่จะจับจ่ายแลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตตามความต้องการของราษฎร ผลที่สุดราษฎรจะพึงได้รับ ก็คือปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ … รัฐบาลอาจจัดให้มีปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต โดยจัดให้มีสหกรณ์ให้พร้อมบริบูรณ์เพื่อรับแลกกับเงินเดือน ซึ่งรัฐบาลจ่ายให้แก่ราษฎรเป็นการหักกลบลบหนี้กันไป เช่น ราษฎรคนหนึ่งได้เงินเดือน 20 บาท และราษฎรต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นจำนวน 20 บาทดังนี้แล้ว เงินที่รัฐบาลจ่ายให้แก่ราษฎรไปก็กลับตกมาเป็นของรัฐบาลอีก เงินที่จะคงตกแก่ราษฎรก็ต่อเมื่อราษฎรต้องการอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ เป็นราคาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ตนได้รับ … วิธีหักกลบลบหนี้ (Compensation) ดั่งนี้ธนบัตรที่จะออกใช้หมุนเวียนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนมากมาย … การที่จะให้รัฐบาลเป็นผู้ประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎรโดยรัฐบาลเป็นผู้จ่ายเงินเดือนให้แก่ราษฎรแล้ว ก็จำเป็นอยู่เองที่รัฐบาลจะต้องจัดให้มีสหกรณ์เป็นผู้ทำสิ่งซึ่งเป็นปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต และเป็นผู้จำหน่ายสิ่งเหล่านี้เสียเอง ถ้ารัฐบาลไม่จัดให้มีสหกรณ์เป็นผู้จัดทำและจำหน่ายปัจจัยเหล่านี้เสียเองหรือเป็นผู้ควบคุมแล้ว รัฐบาลจะประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎรได้อย่างไร รัฐบาลจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้แก่ราษฎร”[42]

 

เงินเดือนที่ราษฎรได้รับก็จะหักกลบลบหนี้กันไปกับสิ่งที่ราษฎรซื้อจากรัฐบาล ฉะนั้น รัฐบาลจำต้องทำสิ่งที่เป็นปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต ซึ่งราษฎรต้องการไว้ให้พร้อมบริบูรณ์ เมื่อราษฎรต้องการสิ่งใดก็ซื้อได้ที่รัฐบาลเช่นนี้แล้ว แม้ในเดือนหนึ่งๆ หรือในปีหนึ่งๆ จะมีเงินเหลืออยู่ที่ราษฎร เงินนี้ราษฎรก็เก็บสะสมไว้เพื่อใช้จ่ายในภายหน้า ซึ่งก็ต้องซื้อจากรัฐบาล ดุลยภาพก็คงต้องมีขึ้นภายในประเทศเป็นแน่แท้ นอกจากนั้นการทำให้สู่ดุลยภาพ ยังอาจกระทำได้ด้วยการกำหนดราคาสิ่งของที่จำหน่าย แต่วิธีนี้ไม่ควรใช้ รัฐบาลควรหาวิธีที่เพิ่มสิ่งที่ราษฎรต้องการให้มากขึ้น”[43]

 

เค้าโครงการฯ ยอมรับว่ารัฐบาลจะไม่สามารถหาเงินมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้แก่ราษฎรได้ถ้าหากรัฐบาลไม่เป็นผู้ผลิตและมอบปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต (สิ่งของให้แก่ราษฎรโดยตรงเสียเอง แม้ว่าจะมีวิธีอื่นๆ ในการจ่ายเงินเดือนให้ราษฎร เช่น “การกำหนดราคาสิ่งของที่จำหน่าย” แต่ เค้าโครงการฯ ก็ย้ำว่า “วิธีนี้ไม่ควรใช้ รัฐบาลควรหาวิธีที่เพิ่มสิ่งที่ราษฎรต้องการให้มากขึ้น” เค้าโครงการฯ มีความตั้งใจที่จะใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของโดยตรงด้วยวิธีหักกลบลบหนี้ (compensation) คือการที่รัฐบาลจะไม่จ่ายเงินเดือนในรูปของ "เงินตราให้แก่ราษฎร แต่จะจ่ายเป็น "สิ่งของ" (เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯโดยตรงให้แทน และจะจ่ายเป็น "เงินตราให้ก็ต่อเมื่อสิ่งของที่ราษฎรต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินเดือนของตนเองเท่านั้น

ในแง่หนึ่ง เป็นความจริงที่ยังคงมี "เงินตราอยู่ในระบบเศรษฐกิจอยู่ แต่คำถามสำคัญคือเราจะสามารถถือว่าระบบเศรษฐกิจเช่นนี้เป็น "ระบบเศรษฐกิจเงินตรา" (the money economy) ได้หรือไม่ผู้เขียนเห็นว่าแม้จะเป็นความจริงที่ยังคงมี "เงินตราอยู่ใน เค้าโครงการฯ แต่ไม่อาจถือได้ว่า "เงินตราดังกล่าวมีความสำคัญจนสามารถถูกเรียกว่าเป็น "ระบบเศรษฐกิจเงินตราได้ ประการแรก ในระบบเศรษฐกิจเงินตรา ประชาชนโดยทั่วไปควรสามารถได้รับเงินเดือนในรูปของ "เงินตรามากกว่าในรูปของ "สิ่งของโดยตรง เพื่อที่ประชาชนจะได้สามารถมีเสรีภาพในการเลือกใช้เงินตรานั้นได้ตามต้องการ เงินตราต้องไม่ใช่เพียงสิ่งที่ได้มาด้วยเงื่อนไขว่าสิ่งของที่ต้องการนั้นมีค่าน้อยกว่าจำนวนเงินเดือนของตนเองเท่านั้น

ประการที่สอง ในระบบเศรษฐกิจเงินตรา ประชาชนโดยทั่วไปควรสามารถใช้เงินตราของตนในการเลือกซื้อสินค้าและบริการต่างๆ กับผู้ผลิตต่างๆ แต่ใน เค้าโครงการฯ รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดการผลิตปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตทั้งหมด ประชาชนแม้จะใช้เงินตราได้แต่ก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากการต้องซื้อกับรัฐบาลเท่านั้น ดังที่ เค้าโครงการฯ ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อราษฎรต้องการสิ่งใดก็ซื้อได้ที่รัฐบาลเช่นนี้แล้ว แม้ในเดือนหนึ่งๆ หรือในปีหนึ่งๆ จะมีเงินเหลืออยู่ที่ราษฎร เงินนี้ราษฎรก็เก็บสะสมไว้เพื่อใช้จ่ายในภายหน้า ซึ่งก็ต้องซื้อจากรัฐบาล”[44] ดังนั้น ถึงแม้จะมีเงินตรา แต่ก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นระบบเศรษฐกิจเงินตราแบบที่เราเข้าใจในปัจจุบันได้

ประการที่สาม ในระบบเศรษฐกิจเงินตรา ประชาชนโดนทั่วไปควรสามารถใช้เงินตราของตนในการซื้อขายปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน โรงงาน ฯลฯ ได้ โดยถือว่าเป็นหนึ่งในอำนาจซื้อของเงินตรา แต่ใน เค้าโครงการฯ จะเห็นว่าประชาชนไม่มีสิทธิในการถือครองปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะที่ดินที่ทำการผลิต ดังนั้น ถึงแม้จะมี "เงินตราแต่กลับไม่มีอำนาจในการใช้มันเพื่อซื้อขายปัจจัยการผลิตเหล่านี้ได้ ดังนั้น ถึงแม้จะยังมีเงินตราอยู่ใน เค้าโครงการฯ แต่ก็ไม่อาจเรียกว่าเป็นระบบเศรษฐกิจเงินตราแบบที่เราเข้าใจในปัจจุบันได้ ควรกล่าวด้วยว่าเป็นการไม่ถูกต้องที่ เค้าโครงการฯ ทำราวกับว่า "เงินตรามีหน้าที่ (function) เป็นเพียงสื่อกลางที่ใช้แลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตเท่านั้น โดยไม่กล่าวถึงอำนาจในการซื้อขายปัจจัยการผลิตเลย ดังที่ เค้าโครงการฯ เขียนว่า

 

ขอเตือนให้ระลึกเสียก่อนว่าเงินเป็นสิ่งที่รับประทานไม่ได้ เงินย่อมเป็นสิ่งที่จะใช้แลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ การจ่ายเงินเท่ากับการจ่ายอาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ ขอให้ระลึกว่าเงินที่ท่านหาได้ ท่านนำเอาเงินนั้นไปทำไม ท่านก็นำเอาไปแลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เหตุฉะนั้น ถ้าจะเปรียบเทียบเงินว่าเป็นคะแนนชนิดหนึ่งก็ไม่ผิด การจ่ายเงินเดือนก็เท่ากับการจ่ายคะแนนให้ราษฎร ที่จะจับจ่ายแลกเปลี่ยนกับปัจจัยแห่งการดำรงชีวิตตามความต้องการของราษฎร ผลที่สุดราษฎรจะพึงได้รับ ก็คือปัจจัยแห่งการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม สถานที่อยู่ ฯลฯ”[45]

 

ความแตกต่างระหว่างระบบเศรษฐกิจเงินตรา (the money economy) กับ เค้าโครงการฯ ที่ผู้เขียนได้อภิปรายไปข้างต้นสามารถสรุปได้ตามตารางที่ ต่อไปนี้

 

ระบบเศรษฐกิจเงินตรา

เค้าโครงการฯ

เงินเป็น "หลักในการแลกเปลี่ยน

เงินเป็น "ส่วนเหลือจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของ

เงินแสดงถึงเสรีภาพในการ “เลือกซื้อ”

สามารถใช้เงินซื้อสินค้าจากรัฐบาลเท่านั้น

สามารถใช้เงินซื้อ “ปัจจัยการผลิต”

ไม่สามารถใช้เงินซื้อ “ปัจจัยการผลิต”

 

ตารางที่ ระบบเศรษฐกิจเงินตรา กับ เค้าโครงการฯ

 

4. เค้าโครงการฯ กับนโยบายเกี่ยวกับที่ดิน

 

ประเด็นสุดท้ายที่ผู้เขียนต้องการอภิปรายคือนโยบายเกี่ยวกับที่ดินใน เค้าโครงการฯ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของ เค้าโครงการฯ โดยสถาบันปรีดีถกเถียงว่า “ข้อเสนอในเค้าโครงฯ ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์อย่างที่ถูกกล่าวหา เนื่องจากเป็นการเสนอให้รัฐซื้อที่ดินเฉพาะที่เป็นไร่นาจากเจ้าของที่ดินโดยความสมัครใจ โดยเจ้าของที่ดินจะได้พันธบัตรรัฐบาลที่จะได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยเพื่อให้ได้รับราคาที่เป็นธรรม”[46] สิ่งที่น่าสนใจก็คือความเข้าใจว่า เค้าโครงการฯ ใช้วิธีการซื้อคืนที่ดินโดยอาศัยความสมัครใจจากเจ้าของนี้กลายเป็นความเข้าใจ (ผิดโดยทั่วไปของผู้ที่ศึกษา เค้าโครงการฯ

เค้าโครงการฯ กล่าวว่า “ที่ดินที่รัฐบาลต้องซื้อกลับคืนนี้ ก็คือที่ดินที่จะใช้ประกอบการเศรษฐกิจ เช่นที่นาหรือไร่ เป็นต้น ส่วนที่บ้านอยู่อาศัยนั้นไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องซื้อคืน”[47] และบอกว่า “ถ้ารัฐบาลจะซื้อที่ดินเหล่านั้นกลับคืนมา ก็เชื่อว่าชาวนาเจ้าของที่ดินผู้รับจำนองทั้งหลายคงจะยินดีมิใช่น้อย”[48] เมื่ออ่านข้อความเหล่านี้อย่างผิวเผินจะรู้สึกเหมือนกับว่า เค้าโครงการฯ ไม่ได้ใช้การบังคับยึดที่ดิน (confiscation) จากประชาชนที่ประชาชนเป็นฝ่ายสูญเสียผลประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวและรัฐเป็นฝ่ายได้ประโยชน์แต่ฝ่ายเดียว หากแต่เป็นการใช้วิธีการที่เป็นธรรม คือการขอซื้อที่ดินแลกกับการให้ "ใบกู้ของรัฐบาลเป็นสิ่งตอบแทน[49] ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน (mutual benefit) ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนเข้าใจ (ผิดว่านโยบายเกี่ยวกับที่ดินใน เค้าโครงการฯ ให้ความสำคัญกับเรื่องความสมัครใจ (consent) ของประชาชน และดังนั้น จึงมีความชอบธรรม

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความเข้าใจที่ผิดอย่างมากเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องความสมัครใจ เป็นความสับสนระหว่างความสมัครใจ (consent) กับผลประโยชน์ (benefit) ซึ่งสองสิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องดำรงอยู่ด้วยกันเสมอไป การที่ผู้ที่แลกเปลี่ยนของกันได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ไม่จำเป็นต้องหมายความว่าทั้งคู่กระทำการด้วยความสมัครใจเสมอไป เช่น นาย กหยิบของบางอย่างไปจาก นาย ขโดยไม่ได้ขออนุญาต นาย ขก่อน แต่ นาย กก็ได้วางเงินจำนวนหนึ่ง (สมมติว่าเป็นมูลค่าเท่ากับราคาตลาดของของดังกล่าวไว้ให้ นาย ขด้วย คำถามคือในกรณีนี้ นาย กและ นาย ขได้ผลประโยชน์ซึ่งกันและกันหรือไม่คำตอบคืออาจเป็นไปได้ เพราะ นาย กได้ของจาก นาย ขไป ส่วน นาย ขก็ได้รับเงินเป็นสิ่งตอบแทน

แต่หากถามว่านี่เป็นการแลกเปลี่ยนด้วยความสมัครใจหรือไม่คำตอบคือไม่ใช่อย่างแน่นอน นาย ขอาจได้รับผลตอบแทนเป็นเงินก็จริง แต่ นาย ขไม่ได้ให้ความยินยอมที่จะมอบสิ่งของให้ นาย กตั้งแต่แรก ถึงแม้ นาย กจะอ้างว่าได้ให้เงินเป็นมูลค่าเท่ากับราคาตลาดของของดังกล่าวก็ตาม แต่ นาย กจะอ้างได้อย่างไรว่ามูลค่าดังกล่าวเป็นสิ่งที่ นาย ขมองว่าคุ้มค่าสำหรับตนถ้าหาก นาย ขรักและหวงแหนสิ่งของนั้นมากจนไม่ยอมแลกเปลี่ยนกับเงินใดๆ แม้ว่าจะเป็นมูลค่าเท่ากับราคาตลาดก็ตามการที่ นาย กเอาของจาก นาย ขไป จึงไม่สามารถอ้างได้ว่า นาย ขได้ให้ของดังกล่าวแก่ตนด้วยความสมัครใจได้ ไม่ว่า นาย กจะให้เงินจำนวนเท่าใดเป็นการแลกเปลี่ยนก็ตาม ถ้าหากจะอ้างถึงความยินยอมหรือความสมัครใจจาก นาย ขจริงๆ ก็จะต้องให้สิทธิแก่ นาย ขสามารถเลือกได้ว่าต้องการแลกเปลี่ยนของกับเงินของ นาย กตั้งแต่ต้นหรือไม่

ด้วยวิธีคิดแบบเดียวกัน เมื่อเรากลับมาพิจารณากรณีของ เค้าโครงการฯ ทำให้เราเห็นได้ว่านโยบายการซื้อคืนที่ดินของรัฐบาลไม่ได้วางอยู่บนแนวคิดความสมัครใจแต่อย่างใด ตามข้อเสนอของ เค้าโครงการฯ “รัฐบาลมีอำนาจซื้อบรรดาที่ดินทั้งหลาย นอกจากที่อยู่สำหรับครอบครัวของเอกชน”[50] และไม่มีข้อความใดใน "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ เลยที่บอกว่า ราษฎรส่วนใหญ่มีสิทธิในการตัดสินใจได้ว่าจะขายที่ดินให้แก่รัฐบาลหรือจะเลือกเก็บที่ดินที่ทำการผลิตของตนเองเอาไว้ตามเดิม ตรงกันข้าม มีแต่การย้ำว่ารัฐบาลต้องซื้อคืนที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมด ส่วนข้อความที่บอกว่า “ถ้ารัฐบาลจะซื้อที่ดินเหล่านั้นกลับคืนมา ก็เชื่อว่าชาวนาเจ้าของที่ดินผู้รับจำนองทั้งหลายคงจะยินดีมิใช่น้อย”[51] นั้นไม่ใช่ข้อความที่ขอความสมัครใจแต่อย่างใด แต่หมายความว่ารัฐบาลเชื่อว่าผลตอบแทน (ใบกู้ที่รัฐบาลจะมอบให้ราษฎรเป็นการแลกเปลี่ยนนั้นน่าจะทำให้ราษฎร (ชาวนาเหล่านั้นพึงพอใจได้ ทั้งหมดนี้ไม่มีตรงไหนเลยที่สะท้อนการขอความสมัครใจจากประชาชน ดังนั้น หากกล่าวให้ถูกต้อง ควรจะกล่าวว่าวิธีการจัดหาที่ดินของรัฐบาลคือ การบังคับซื้อ (ที่ไม่ได้ขอความสมัครใจ)

นอกจากเรื่องวิธีการ (บังคับซื้อที่ดินที่ทำการผลิตแล้ว สถาบันปรีดียังถกเถียงว่า “ภายใต้เค้าโครงฯ มีการเก็บภาษีมรดก การกระจายการถือครองที่ดิน เป็นการทําให้คนส่วนใหญ่มีเสรีภาพมากขึ้น ผ่านการที่ทําให้คนสามารถเริ่มต้นชีวิตเท่ากัน”[52] แต่ถ้าหากเราอ่านและพิจารณา "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ จะพบว่าหลายประเด็นที่สถาบันปรีดีอ้างนั้นไม่เป็นความจริง เช่น การอ้างว่า เค้าโครงการฯ ช่วย “กระจายการถือครองที่ดิน เป็นการทําให้คนส่วนใหญ่มีเสรีภาพมากขึ้น ผ่านการที่ทําให้คนสามารถเริ่มต้นชีวิตเท่ากัน” นั้นไม่พบว่ามี "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ ที่สนับสนุนการตีความเช่นนี้ได้

เค้าโครงการฯ มีเป้าหมายในการรวบรวมที่ดินที่ทำการผลิตทั้งหมดมาเป็นของรัฐ โดยเขียนไว้อย่างชัดเจน เช่น “ที่ดินที่รัฐบาลต้องซื้อกลับคืนนี้ ก็คือที่ดินที่จะใช้ประกอบการเศรษฐกิจ เช่นที่นาหรือไร่ เป็นต้น ส่วนที่บ้านอยู่อาศัยนั้นไม่จำเป็นที่รัฐบาลต้องซื้อคืน”[53] และ “ให้รัฐบาลมีอำนาจซื้อบรรดาที่ดินทั้งหลาย นอกจากที่อยู่สำหรับครอบครัวของเอกชน และนอกจากที่ดิน ซึ่งเอกชนได้รับอนุญาตหรือสัมปทานให้ประกอบเศรษฐกิจในที่ดินนั้น”[54] นอกจากนั้น “เมื่อที่ดินได้กลับมาเป็นของรัฐบาลเช่นนี้แล้ว รัฐบาลจะได้กำหนดลงไปได้ถนัดว่าการประกอบเศรษฐกิจในที่ดินนั้นจะแบ่งออกเป็นส่วนอย่างไร”[55] และ “ในเวลานี้ราษฎรยังหลงเชื่อในวิธีโบราณ แม้ผู้ชำนาญการกสิกรรมจะพร่ำสอนก็ต้องกินเวลาอีกนาน เมื่อรัฐบาลเป็นผู้ประกอบการเศรษฐกิจเอง รัฐบาลอาจกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ ราษฎรซึ่งเป็นลูกจ้างของรัฐบาลก็ต้องประพฤติตาม”[56]

จะเห็นได้ว่า เค้าโครงการฯ ไม่ได้มีเป้าหมายในการกระจายการถือครองที่ดินเลย ตรงกันข้าม เป้าหมายกลับเป็นการรวมศูนย์ (centralization) ทั้งที่ดินและแรงงาน (ชาวนาให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐบาล ด้วยเป้าหมายเช่นนี้ของรัฐบาลจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดการกระจายการถือครองที่ดิน (ที่ทำการผลิตเพราะประชาชนไม่ได้รับอนุญาตให้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำการผลิตได้ตั้งแต่ต้น และดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้ “คนส่วนใหญ่มีเสรีภาพมากขึ้น” เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับอนุญาตให้มีเสรีภาพในการถือครองที่ดินที่ทำการผลิตของตนเอง รวมถึงไม่ได้รับอนุญาตให้มีเสรีภาพในการกำหนดแผนการที่จะทำบนที่ดินของตนเองได้

ปรีดีเองยอมรับว่า “จริงอยู่เมื่อรัฐบาลประกอบเศรษฐกิจเสียเองเช่นนี้ย่อมเป็นการตัดเสรีภาพ แต่การตัดเสรีภาพนั้นก็เพื่อจะทำให้ราษฎรได้รับความสุขสมบูรณ์ทั้งหมด … รัฐบาลไม่ได้ตัดเสรีภาพในการอื่นๆ ราษฎรคงมีเสรีภาพในร่างกาย ในทรัพย์สิน ในเคหะสถาน ในการพูด ในการศึกษาอบรม ในการสมาคม”[57] จะเห็นได้ว่าแม้แต่ปรีดีเองก็ตระหนักดีว่าภายใต้ เค้าโครงการฯ ราษฎรจะไม่มีเสรีภาพในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเอง[58] ซึ่งเสรีภาพในทรัพย์สินก็ไม่ถือเป็นเสรีภาพในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เพราะประชาชนไม่มีอำนาจในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเองได้ มีเพียงเสรีภาพในผลผลิตจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (ที่ถูกกำหนดโดยรัฐบาลเท่านั้น การที่ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเองเช่นนี้ จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่จะตีความว่า เค้าโครงการฯ ช่วย “ให้คนส่วนใหญ่มีเสรีภาพมากขึ้น” แบบที่สถาบันปรีดีเสนอ

นอกจากนั้น เป้าหมายของ เค้าโครงการฯ ก็ไม่ใช่ “การที่ทําให้คนสามารถเริ่มต้นชีวิตเท่ากัน” แต่อย่างใด สิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจแนวคิดเรื่อง การทำให้ผู้คนมีความเสมอภาคทางโอกาสในการเริ่มต้นชีวิต (equality of opportunity) คือแม้จะเป็นแนวคิดที่เน้นความเสมอภาคแต่ก็ยังคงอยู่ภายใต้แนวคิดเสรีนิยมด้วย หรืออาจเรียกแนวคิดแบบนี้ได้ว่าเป็น แนวคิดเสมอภาคนิยมแบบเสรี (liberal egalitarianism)[59] เป็นแนวคิดที่ต้องการสร้างความเท่าเทียมทางโอกาสให้กับผู้คน ทำให้ผู้คนสามารถแข่งขันกันได้อย่างเสมอภาค แต่เป็นบนเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ละเมิดเสรีภาพทางเศรษฐกิจของผู้คน รวมถึงต้องเคารพกรรมสิทธิ์ในการถือครองปัจจัยการผลิตของผู้คนด้วย

เค้าโครงการฯ ไม่ได้ใกล้เคียงกับแนวคิดแบบนี้เลย ถ้าจะนับว่า เค้าโครงการฯ สร้างความเท่าเทียม ก็คือการทำให้ผู้คนปราศจากเสรีภาพทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน ผู้คนอยู่ภายใต้การบังคับสั่งการโดยรัฐบาลอย่างเท่าเทียมกัน ผู้คนไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการผลิตอย่างเท่าเทียมกัน ฯลฯ ความเท่าเทียมในลักษณะนี้ห่างไกลจากแนวคิดที่ต้องการ “ทําให้คนสามารถเริ่มต้นชีวิตเท่ากัน” ในเมื่อประชาชนไม่ได้รับอนุญาตให้มี "โอกาสในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตนเองตั้งแต่แรก แล้วจะถือว่ารัฐบาลได้สร้างความเท่าเทียมทางโอกาสให้กับประชาชนได้อย่างไร?

 

สรุป

 

บทความนี้เป็นทั้งการขยายความประเด็นของผู้เขียนในบทความ “A Critique of PEP” และเป็นการอภิปรายและวิจารณ์บทความของสถาบันปรีดี โดยผู้เขียนได้ถกเถียงว่าในการทำความเข้าใจ เค้าโครงการฯ ของปรีดี เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ "ตัวบท" (text) คือหนังสือ เค้าโครงการฯ อย่างจริงจัง ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นว่าแม้เราจะนำเอา "บริบท" (context) ในช่วงเวลาที่ เค้าโครงการฯ ได้ถูกนำเสนอมาร่วมพิจารณาด้วย แต่ข้อสรุปก็ยังคงเป็นเช่นเดิม นั่นคือ เค้าโครงการฯ ไม่มีความชอบธรรมและไม่ควรถูกนำมาใช้ ไม่ว่าจะในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม เพราะ เค้าโครงการฯ ทำลายหลักการความยุติธรรมอย่างน้อย ข้อ คือ หลักการเสรีภาพในการกำหนดตนเองทางเศรษฐกิจ (economic self-determination) และหลักการการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย (democratic citizenship)

ในบทความนี้ ผู้เขียนอภิปรายโดยพิจารณาที่ "ตัวบทจาก เค้าโครงการฯ เป็นหลักอย่างจริงจัง เพื่อแสดงให้เห็นว่า เค้าโครงการฯ มีคุณลักษณะคือ ทำลายระบบตลาดและระบบเงินตราใช้วิธีการบังคับซื้อที่ดินโดยไม่ขอความสมัครใจเน้นการรวมศูนย์ที่ดิน ไม่ใช่การกระจายที่ดินทำลายการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และทำลายเสรีภาพในการกำหนดตนเองทางเศรษฐกิจ

 


 

[1]   สถาบันปรีดี พนมยงค์, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ",” สถาบันปรีดี พนมยงค์, 18 มกราคม 2567 [https://pridi.or.th/th/content/2024/01/1827]

[2]   ปรีดี พนมยงค์เค้าโครงการเศรษฐกิจ (กรุงเทพฯโครงการจัดทำสื่อเผยแพร่เกียรติคุณ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุอาวุโสสำหรับเด็กและเยาวชน, 2542).

[3]   Wanpat Youngmevittaya, “A Critique of Pridi Panomyong's Economic Plan,” รัฐศาสตร์นิเทศ, 9:1 (2566), 107-141. และต่อมาทางคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดงานเสวนาออนไลน์เพื่อให้ผู้เขียนได้นำเสนอบทความชิ้นนี้ในวันที่ 21 ธันวาคม 2566 ในงานเสวนา "วิพากษ์สมุดปกเหลืองเค้าโครงเศรษฐกิจของปรีดีกับปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตยสามารถดูบันทึกการเสวนาได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=K9xtUvSMN-E.

[4]   เป็นข้อคิดเห็นของ พีระ เจริญวัฒนนุกูล ต่อบทความ “A Critique of PEP” ของผู้เขียน ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วย

[5]   ผู้เขียนจงใจใช้คำว่า "โดยนัยในที่นี้ เพราะสถาบันปรีดีไม่ได้กล่าวอย่างชัดแจ้งว่าเราไม่ควรสนใจที่ "ตัวบทของ เค้าโครงการฯ อย่างจริงจังมากเกินไป แต่นี่เป็นข้อเสนอ "โดยนัยของสถาบันปรีดีในบทความดังกล่าว ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลสำคัญประการหนึ่งว่าทำไมในบทความดังกล่าว สถาบันปรีดีจึงมักอภิปราย เค้าโครงการฯ ไปพร้อมๆ กับ "บริบทหรือเหตุการณ์อื่นๆ นอกเหนือจาก "ตัวบทและไม่ได้อ้างอิงจาก "ตัวบทมากนัก

[6]   Wanpat, “A Critique of Pridi Panomyong's Economic Plan,” 115.

[7]   สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ” (เน้นตามต้นฉบับ)

[8]   ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 104.

[9]   เพิ่งอ้าง. 109.

[10] ประเด็นของผู้เขียนในที่นี้มีความคล้ายกับที่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้เคยเขียนเอาไว้ว่า “เป็นเรื่อง irony [อีกเช่นกันที่ก่อนจะถึงแก่กรรมไม่นาน ในการวิวาทะกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ปรีดีได้ย้ำความสำคัญของฐานะที่เป็นอิสระและการมีเสรีภาพส่วนบุคคลของชาวนาไทย” ซึ่งโดยนัยก็คือสมศักดิ์เห็นว่าการพูดของปรีดีในภายหลัง (หลายปีหลังการนำเสนอ เค้าโครงการฯ ไม่ได้ช่วยทำให้ เค้าโครงการฯ มี "ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์น้อยลงแต่อย่างใด ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง (กรุงเทพฯ: 6 ตุลารำลึก, 2544), . 8.

[11] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[12] Wanpat, “A Critique of Pridi Panomyong's Economic Plan.” 

[13] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[14] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 17.

[15] เพิ่งอ้าง. 18, 23.

[16] เพิ่งอ้าง. 34.

[17] เพิ่งอ้างนน. 35-38.

[18] เพิ่งอ้างนน. 8-9.

[19] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.” (เน้นตามต้นฉบับ)

[20] ผู้เขียนเห็นด้วยกับสมศักดิ์ที่เห็นว่า หัวใจสำคัญที่สุดของ เค้าโครงการฯ คือนโยบายเกี่ยวกับการบังคับซื้อที่ดินโดยรัฐบาล ซึ่งสมศักดิ์เรียกว่าเป็น “การทำให้ชาวนารวมหมู่โดยการบังคับ (forced collectivization)” ดู สมศักดิ์ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง. 5.

[21] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจนน. 17-18.

[22] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[23] น่าสนใจว่าปรีดีเองก็ใช้เหตุผลเรื่องความไม่พร้อมของราษฎรในการปกครองตนเองเช่นกัน โดยปรีดีกล่าวว่า “คนของเราเวลานี้เปรียบเหมือนเด็ก รัฐบาลต้องนำ โดยบังคับในทางตรงหรือในทางอ้อม” ดู ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 108.

[24] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[25] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจนน. 35-38.

[26] เพิ่งอ้าง. 38.

[27] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[28] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 18.

[29] เพิ่งอ้าง. 23.

[30] เพิ่งอ้าง. 30.

[31] เพิ่งอ้าง. 31.

[32] เพิ่งอ้างนน. 17-18.

[33] เพิ่งอ้าง. 18.

[34] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[35] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 22.

[36] เพิ่งอ้าง. 23.

[37] เพิ่งอ้าง. 17.

[38] เพิ่งอ้าง.

[39] เพิ่งอ้าง. 23.

[40] เพิ่งอ้าง. 22.

[41] เพิ่งอ้าง. 23.

[42] เพิ่งอ้างนน. 8-9.

[43] เพิ่งอ้าง. 26.

[44] เพิ่งอ้าง. 26.

[45] เพิ่งอ้าง. 8.

[46] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[47] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 17.

[48] เพิ่งอ้าง. 16.

[49] เพิ่งอ้าง. 17.

[50] เพิ่งอ้าง. 53.

[51] เพิ่งอ้าง. 16.

[52] สถาบันปรีดี, “คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับ "เค้าโครงการเศรษฐกิจ.”

[53] ปรีดีเค้าโครงการเศรษฐกิจ. 17.

[54] เพิ่งอ้าง. 53.

[55] เพิ่งอ้างนน. 17-18.

[56] เพิ่งอ้าง. 18.

[57] เพิ่งอ้าง. 42.

[58] ในบทความ "A Critique of PEP” ผู้เขียนใช้คำว่า economic self-determination ซึ่งหมายถึง เสรีภาพในการกำหนดตนเองทางเศรษฐกิจ ดู Wanpat, “A Critique of PEP,” pp. 116-119.

[59] มีงานด้านทฤษฎีการเมืองจำนวนมากที่อภิปรายแนวคิดนี้ ผู้ที่สนใจแนวคิดดังกล่าวนี้ อาจดูตัวอย่าง เช่น John Rawls, A Theory of Justice, Original Edition (Cambridge, MA.: Harvard University Press, 1971)