Skip to main content

ชื่อบทความ: ภาพโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในสังคมเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกช่วงปลายสงครามเย็น ค.ศ.1980-1989

ผู้เขียน: ณัฐพล ศิริคำน้อย (สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต จากคณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเมื่อพ.ศ.2567)

บทคัดย่อ 

บทความนี้ต้องการศึกษาภาพโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในสังคมเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกในช่วงช่วงปลายสงครามเย็น ค.ศ.1980-1989 จากการศึกษาพบว่าโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกในช่วง ค.ศ.1980-1989 ได้นำเสนอประเด็นซึ่งสอดคล้องกับบริบทความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลายประการ ได้แก่ ในสังคมเยอรมนีตะวันออกช่วง ค.ศ.1987 เริ่มมีสัญญาณความล่มสลายของระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ เนื่องจากในช่วงดังกล่าวเยอรมนีตะวันออกเริ่มไร้เสถียรภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ประชาชนเริ่มไม่พอใจในระบบการปกครองและหันมาเข้าร่วมการปฏิวัติสันติภาพ (Peaceful Revolution) รัฐบาลเยอรมนีตะวันออกจึงพยายามเผยแพร่โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อที่เน้นย้ำความสำคัญของระบอบคอมมิวนิสต์ ในขณะที่สื่อมวลชนในเยอรมนีตะวันออกก็เผยแพร่โปสเตอร์ที่ตั้งคำถามต่อการทำงานของรัฐมากขึ้น เรื่อยมาจนเกิดการทำลายกำแพงเบอร์ลินในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1989 และในขณะที่โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของเยอรมนีตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่เป็นโปสเตอร์หาเสียงเลือกตั้งก็พยายามเน้นย้ำถึงอุดมการณ์เสรีนิยม และมีบางส่วนซึ่งถูกจัดทำโดยศิลปินและสื่อมวลชนที่นำเสนอแนวคิดทางการเมืองช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคแบ่งแยกประเทศสู่ยุคร่วมประเทศ  

คำสำคัญ: ภาพโปสเตอร์, โฆษณาชวนเชื่อ, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การถ่ายทอดทางความคิดของรัฐ 

วิธีการอ้างอิง: ณัฐพล ศิริคำน้อย. "ภาพโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อในสังคมเยอรมนีตะวันตกและเยอรมนีตะวันออกช่วงปลายสงครามเย็น ค.ศ.1980-1989." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 2, ฉ.1 (มกราคม-กรกฎาคม 2567): 62-87.

เผยแพร่ออนไลน์: 16 กรกฎาคม 2567

Attachment Size
03_cold_war_german_posters.pdf (853.21 KB) 853.21 KB