Skip to main content

ชื่อบทความ: มังงะ-อนิเมะกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้เสพในสังคมไทย (พ.ศ.2540-2565)

ผู้เขียน: ณัฐ ติยะบุตร (สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อพ.ศ.2566)

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการศึกษาอารมณ์ความรู้สึกของผู้เสพมังงะและอนิเมะในสังคมไทย ช่วงปีพ.ศ.2540-2565 ผลการศึกษาพบว่าความเปลี่ยนแปลงของ “มังงะ” และ “อนิเมะ” ได้เปลี่ยนไปตามกิจกรรมและเทคโนโลยีสื่อในแต่ละยุคสมัย โดยสามารถแบ่งช่วงเวลาเป็นสามช่วงเวลาย่อย ได้แก่ ช่วงทศวรรษ 2540 อันเป็นช่วงที่มีการเกิดขึ้นของสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับการ์ตูนญี่ปุ่น การแพร่หลายของหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นและรายการโทรทัศน์การ์ตูนญี่ปุ่น ส่วนช่วงต่อมา ช่วงทศวรรษ 2550 มีการเกิดขึ้นของงานเทศกาลการ์ตูนญี่ปุ่นและอนิเมะมูฟวี่ ส่วนช่วงสุดท้ายคือต้นทศวรรษ 2560 อันเป็นช่วงที่ “มังงะ” และ “อนิเมะ” ถูกแปลงให้เสพในรูปแบบดิจิทัล นั่นก็คือ มังงะอีบุ๊คและอนิเมะสตรีมมิ่งเซอร์วิส ทั้งสามช่วงเวลานี้มีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อรูปแบบการเสพมังงะและอนิเมะเปลี่ยนไป ดังนั้นอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เสพได้ปฏิสัมพันธ์กับวิธีการเสพสื่อแบบใหม่ๆ จึงเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ: อารมณ์ความรู้สึก, มังงะ, อนิเมะ

วิธีการอ้างอิง: ณัฐ ติยะบุตร. "มังงะ-อนิเมะกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้เสพในสังคมไทย (พ.ศ.2540-2565)." วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระดับปริญญาตรี 2, ฉ.1 (มกราคม-กรกฎาคม 2567): 116-133.

เผยแพร่ออนไลน์: 16 กรกฎาคม 2567  

Attachment Size
05_manga_and_anime.pdf (266.32 KB) 266.32 KB